สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
กฎหมายแข่งขั นทางการค้าในประเทศจี น 232 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ๑๘ เพิ่งอ้าง. − บทบัญญัติเรื่องห้ามท� ำลายความตกลงเพื่อผูกขาด (Provision on the Prohibition of Monopolistic Agreements) บทบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๒๐๑๑ โดยก� ำหนด นิยามและเกณฑ์ในการพิจารณาว่าความหมายของความตกลงเพื่อผูกขาด และห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจ ตกลงกันเพื่อน� ำสู่การตกลงกันเพื่อผูกขาด − บทบัญญัติเรื่องการห้ามใช้อ� ำนาจเหนือตลาดโดยไม่ชอบธรรม (Provision on the Prohibition on the Abuse of a Dominant Market Position) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๒๐๑๑ โดยวางค� ำนิยามและเกณฑ์ ส� ำหรับพิจารณาว่า “ผู้มีอ� ำนาจเหนือตลาด” หมายถึง ผู้ประกอบธุรกิจนี้มีอ� ำนาจในการควบคุมราคา ปริมาณ หรือเงื่อนไขอื่น ๆ หรือมีความสามารถที่จะขัดขวาง หรือสร้างผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจอื่นได้ − บทบัญญัติเรื่องการใช้อ� ำนาจปกครองโดยไม่ชอบธรรม (Provision on the Prohibition of the Anti-Competitive Abuse of Administrative Power) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๑ โดยมีก� ำหนดค� ำนิยามที่ละเอียด และขั้นตอนกระบวนการพิจารณาว่าความหมายของการใช้อ� ำนาจปกครองโดยไม่ชอบธรรมและการ พิจารณาว่าอะไรคือผลเสียต่อการแข่งขันของการใช้อ� ำนาจปกครองโดยไม่ชอบธรรมดังกล่าว − บทบัญญัติเรื่องห้ามใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาโดยไม่ชอบธรรม เพื่อ ก� ำจัดหรือจ� ำกัดการแข่งขัน (Provisions to Prohibit Intellectual Property Abuse to Eliminate or Restrict Competition) อนุบัญญัติฉบับนี้ยังไม่มีผลบังคับ แต่เปิดรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วน เกี่ยวข้อง เป็นอนุบัญญัติที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญากับ การแข่งขัน วัตถุประสงค์ก็เพื่อวางแนวทางการพิจารณาให้เจ้าหน้าที่ องค์กรบังคับใช้กฎหมายแข่งขัน ทางการค้าพิจารณาว่า เมื่อไรที่การใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ทรงสิทธิได้กลายเป็นพฤติกรรม ต่อต้านการแข่งขันไปแล้ว ๑.๒.๕ กฎของศาลฎีกาของประชาชน (Supreme People’s Court) ๑๘ − ประกาศเรื่องการศึกษาและน� ำกฎหมายป้องกันการผูกขาดไปปฏิบัติให้เกิดผล (Notice on Studying and Implementing the Antimonopoly Law)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=