สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

กฎหมายแข่งขั นทางการค้าในประเทศจี น 226 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 − กฎหมายราคา (Price Law) ค.ศ. ๑๙๙๘ มีวัตถุประสงค์เพื่อท� ำให้ราคามีเสถียรภาพ เพิ่มบทบาทให้กลไกราคาในการจัดทรัพยากรปกป้องคุ้มครองประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจและ ผู้บริโภค นอกจากศึกษากฎหมายแข่งขันทางการค้าของต่างประเทศนานกว่า ๑๓ ปี ในที่สุดใน เดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๒๐๐๗ สภาประชาชนแห่งชาติ (National People Congress) ซึ่งเป็นองค์กรทาง ปกครองสูงสุดทางการของประเทศจีนได้ตรากฎหมายต่อต้านการผูกขาดหรือเอเอ็มแอล (Anti-Monopoly Law–AML) ออกมา และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๐๐๘ โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวได้รับ อิทธิพลส่วนใหญ่มาจากกฎหมายแข่งขันทางการค้าของประเทศเยอรมนี ๔ โดยเป็นกฎหมายที่มีชื่อและ วัตถุประสงค์ดังนี้ − กฎหมายป้องกันการผูกขาด (Anti-Monopoly Law) เป็นกฎหมายที่ถือว่าเป็น กฎหมายแข่งขันทางการค้าที่สมบูรณ์ของประเทศจีน โดยแบ่งกฎออกเป็น ๓ กลุ่มได้ดังนี้ ๕ ๑) กลุ่มของกฎซึ่งห้ามการร่วมกันจ� ำกัดการแข่งขัน (restrictive agreement) และ การใช้อ� ำนาจเหนือตลาดโดยมิชอบ (abuse of dominant position) ๖ ๒) กลุ่มของกฎซึ่งควบคุมการควบรวมกิจการ (M&A) ที่มีขนาดใหญ่ และป้องกัน การควบรวมกิจการ ซึ่งจ� ำกัดการแข่งขัน ๗ ๓) กลุ่มของกฎซึ่งห้ามการใช้อ� ำนาจปกครองโดยมิชอบซึ่งจะน� ำไปสู่การจ� ำกัด การแข่งขันทางการค้า ๘ ขอบเขตของการบังคับใช้ของกฎหมายป้องกันการผูกขาดกว้างขวางมาก โดยค� ำว่า “ผู้ประกอบธุรกิจ (undertaking)” หมายถึง บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล หรือองค์กรใด ๆ ซึ่งผลิต หรือท� ำธุรกิจเกี่ยวกับสินค้า หรือบริการ แม้ว่าบทบัญญัติของมาตรา ๗ ของกฎหมายป้องกันการผูกขาด จะมีความคลุมเครือว่ารัฐวิสาหกิจตกอยู่ในขอบเขตของการบังคับใช้ของกฎหมายฉบับนี้หรือไม่ แต่ ความเห็นของคนส่วนใหญ่เห็นว่ารัฐวิสาหกิจตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับนี้ด้วย ๙ ภาคเศรษฐกิจ ที่ถูกตัดออกไปจากขอบเขตของการบังคับใช้กฎหมายนี้คือ ภาคการเกษตร และกิจกรรมขององค์กร เศรษฐกิจของภูมิภาคในแถบชนบท ๑๐ ๔ Norton Rose, Antimonopoly Law in China , 2012 p.6 ๕ เพิ่งอ้าง. ๖ เพิ่งอ้าง. ๗ เพิ่งอ้าง. ๘ เพิ่งอ้าง. ๙ เพิ่งอ้าง. ๑๐ เพิ่งอ้าง.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=