สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
กฎหมายแข่งขั นทางการค้าในประเทศจี น 224 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 สงครามเวียดนาม สงครามในกัมพูชา และลาว ความไร้ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของระบบเศรษฐกิจ ในการวางแผนจากส่วนกลางได้ปรากฏอย่างชัดเจนในทศวรรษ ๑๙๘๐ ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน จากส่วนกลางของบรรดาประเทศในระบบคอมมิวนิสต์ได้พังทลายอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนเมื่อประชาชน ในประเทศเยอรมนีตะวันออกได้พังก� ำแพงของเมืองเบอร์ลินลงใน ค.ศ. ๑๙๘๙ ซึ่งแสดงให้เห็นชัยชนะ อย่างเด็ดขาดของระบบเศรษฐกิจแบบอาศัยกลไกตลาดที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่าระบบเศรษฐกิจแบบ วางแผนจากส่วนกลาง ท� ำให้บรรดาประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ และ ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลางทั้งหลายรวมทั้งประเทศจีนด้วย ได้เริ่มด� ำเนินการปฏิรูป ระบบเศรษฐกิจ (economic reform) ซึ่งในรูปธรรมคือการรับเอาระบบเศรษฐกิจแบบอาศัยกลไกตลาด มาใช้ ในขณะเดียวกันก็พยายามที่จะรักษาระบบการปกครองแบบเดิมคือระบบการปกครองแบบ คอมมิวนิสต์ไว้ ในระบบเศรษฐกิจแบบอาศัยกลไกตลาดนั้นต้องอาศัยสถาบันกฎหมาย (legal institution) ของ ระบบกฎหมายเอกชน ได้แก่ สิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคล (private property rights) หลักเสรีภาพในการ ท� ำสัญญา (Freedom of Contract Doctrine) เพื่อให้กลไกตลาดท� ำงานได้ ซึ่งในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ ในช่วงแรก ๆ ของประเทศคอมมิวนิสต์นั้น สิ่งแรกที่รัฐบาลท� ำคือการรับรองสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ของ เอกชน ได้แก่ การที่รัฐอนุญาตให้เอกชนท� ำสัญญาเช่าที่ดินกับรัฐได้ ซึ่งเท่ากับรัฐรับรองสิทธิตามสัญญาเช่า ส่วนกฎหมายมหาชนที่ส� ำคัญมากในระบบเศรษฐกิจแบบอาศัยกลไกตลาด ได้แก่ กฎหมายป้องกันการ ผูกขาด (antimonopoly law) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กฎหมายแข่งขันทางการค้า (competition law) ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของระบบเศรษฐกิจเลยทีเดียว จึงเป็นกฎหมายที่ส� ำคัญ และจ� ำเป็นอย่างยิ่ง ต่อระบบเศรษฐกิจแบบอาศัยกลไกตลาด เพราะหากไม่มีกฎหมายดังกล่าวแล้วหากมีการผูกขาด (monopoly) ในตลาดสินค้าหรือตลาดบริการใดตลาดใดตลาดหนึ่ง (relevant market) กลไกตลาดย่อม ไม่ท� ำงาน ซึ่งจะน� ำไปสู่การล้มเหลวของตลาด (market failure) ดังนั้น ประเทศอุตสาหกรรมตะวันตก ทั้งหลายจึงจ� ำเป็นต้องมีกฎหมายป้องกันการผูกขาดไว้ส� ำหรับใช้แทรกแซงตลาด เพื่อวัตถุประสงค์ ในการที่จะท� ำให้ตลาดกลับคืนมาท� ำงานตามปรกติ การผูกขาดในตลาดสินค้าหรือตลาดบริการใด ตลาดใดตลาดหนึ่งนั้นย่อมท� ำให้เกิดผลเสีย ๓ ประการ ได้แก่ ประการที่ ๑ เกิดการถ่ายทอดความมั่งคั่งจากผู้บริโภคไปยังผู้ผูกขาด (transfer of wealth) ประการที่ ๒ คือ เกิดการสูญเสียสวัสดิการทางเศรษฐกิจ (deadweight loss) และประการสุดท้ายคือ ขาดการพัฒนาประสิทธิภาพและเทคโนโลยีใหม่ (no technological progress) สรุปคือ หากประเทศจีนรับเอาระบบเศรษฐกิจแบบอาศัยกลไกตลาดมาใช้ ประเทศจีนก็มีความ จ� ำเป็นที่จะต้องรับเอารัฐธรรมนูญของระบบเศรษฐกิจแบบอาศัยกลไกตลาดจากประเทศอุตสาหกรรม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=