สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ กฎหมายแข่งขันทางการค้าในประเทศจีน ศักดา ธนิตกุล ภาคีสมาชิก ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา บทคัดย่อ สภาประชาชนแห่งชาติของประเทศจีนได้ตรากฎหมายการแข่งขันทางการค้าออกมาบังคับ ใช้ในเดือนมกราคม ค.ศ. ๒๐๐๗ โดยยกร่างตามกฎหมายแข่งขันทางการค้าของสหภาพยุโรป มีองค์กร บังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าถึง ๓ องค์กร เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าระบบการเมืองการปกครอง ของประเทศจีนมีความแตกต่างกับระบบการเมืองการปกครองของรัฐสมาชิกทั้งหมดของสหภาพยุโรปเป็น อย่างมาก นอกจากนั้น ระบบเศรษฐกิจของประเทศจีนก็เพิ่งเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจาก ส่วนกลาง มาเป็นระบบเศรษฐกิจแบบอาศัยกลไกตลาดอย่างจริงจังในปลายทศวรรษ ๑๙๘๐ และยังมี รัฐวิสาหกิจจ� ำนวนมากเหลืออยู่ เป็นความจริงที่ว่า องค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องและองค์กรบังคับใช้กฎหมาย การแข่งขันทางการค้าของประเทศจีน สามารถตราอนุบัญญัติก� ำหนดเกณฑ์ ขั้นตอน และรายละเอียด ตามกฎหมายการแข่งขันทางการค้าได้มากกว่า ๓๐ ฉบับ ด� ำเนินการบังคับคดี และมีค� ำตัดสินเกือบ ๒๐๐ เรื่อง ในระยะเวลาประมาณ ๔ ปี (ค.ศ. ๒๐๐๘-๒๐๑๑) ซึ่งนับได้ว่าเป็นผลงานการบังคับใช้กฎหมาย การแข่งขันทางการค้าที่น่าประทับใจ ค� ำส� ำคัญ : กฎหมายการแข่งขันทางการค้า, กฎหมายป้องกันการผูกขาด, การใช้อ� ำนาจเหนือตลาด โดยมิชอบ, การตกลงร่วมกันจ� ำกัดการแข่งขัน, การควบรวมกิจการ, พฤติกรรมต่อต้าน การแข่งขัน บทน� ำ หลังชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์ใน ค.ศ. ๑๙๔๙ ประเทศจีนเป็นประเทศที่ใช้ระบบการ ปกครองแบบคอมมิวนิสต์ และใช้ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง ซึ่งต่างกับประเทศอุตสาหกรรม ตะวันตกซึ่งใช้ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย และใช้ระบบเศรษฐกิจแบบอาศัยกลไกตลาด (market-oriented economy) การแข่งขันทางอุดมคติของ ๒ ระบบได้น� ำไปสู่สงครามเย็น (Cold War) ในยุคทศวรรษ ๑๙๕๐, ๑๙๖๐ และสงครามตัวแทน (proxy war) ในทศวรรษ ๑๙๗๐ เช่น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=