สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

พระมหากรุณาธิ คุณด้านการบริ หารราชการแผ่นดิ นใน “ระบบราชการ” ของพระมหากษั ตริ ย์ แห่งพระบรมราชจั กรี วงศ์ 16 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ตรงกับวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาท สมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลทั้ง ๒ พระองค์ ซึ่งแม้เสด็จขึ้นครองราชย์ขณะเมื่อทรงพระเยาว์ แต่ก็ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่มีคุณูปการแก่ประเทศหลายประการ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย คือ เป็นระยะเวลา ๗๐ ปี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการด้วย พระราชปณิธานอันแน่วแน่ดังที่พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ เสด็จพระราชด� ำเนินไปทรงรับทราบปัญหาของราษฎรด้วยพระองค์เอง ทรงหาทางแก้ไขปัญหาและพัฒนา ให้ดีขึ้นด้วยการที่ทรงริเริ่มโครงการพัฒนาของพระองค์ การพัฒนาในระยะแรกทรงเน้นการแก้ไขปัญหา เฉพาะหน้า ดังพระราชด� ำริว่า “...ถ้าปวดหัวก็คิดอะไรไม่ออก... ต้องแก้ไขการปวดหัวนี้ก่อน... มันไม่ได้ แก้อาการจริงแต่ต้องแก้ปวดหัวก่อน เพื่อที่จะให้อยู่ในสภาพที่จะคิดได้...” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงริเริ่มด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ประชาชนด้านการสาธารณสุขและทรงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการศึกษา เพราะมีพระราชประสงค์ให้ คนไทยมีการศึกษาและมีความรู้ในการประกอบอาชีพเพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ จากพระราชกรณียกิจ ในระยะเริ่มแรกที่ทรงเน้นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า น� ำไปสู่การมุ่งพัฒนาที่สูงขึ้นตามล� ำดับโดยเน้นที่ การเกษตรเป็นหลัก ด้วยทรงตระหนักว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ขาดการศึกษา ขาดหลักวิชาสมัยใหม่ และ ต้องเผชิญกับปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น�้ ำ ดิน ป่าไม้ ซึ่งปัญหานี้มีความแตกต่างกันไปในแต่ละ ภูมิภาค พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชประสงค์ให้ราษฎรที่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรมซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศได้เรียนรู้การท� ำมาหาเลี้ยงชีพ โดยวิธีการพัฒนาด้านต่าง ๆ ที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและการประกอบอาชีพ ดังที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องจากพระราชด� ำริขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ พระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาที่ส� ำคัญของพระองค์ คือการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอันเป็นเรื่องที่สนพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง ทรงตระหนักว่า ปัญหาส� ำคัญของเกษตรกร คือปัญหาอันเนื่องมาจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศที่เสื่อมโทรมหรือถูกท� ำลายไป เป็นจ� ำนวนมาก พระราชทานแนวทางพระราชด� ำริและวิธีการบริหารจัดการปัญหาเหล่านั้นด้วยการทรง คิดค้น ดัดแปลงปรับปรุง และแก้ไขให้เป็นการพัฒนาที่ด� ำเนินการได้โดยง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และต้อง สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงเกี่ยวกับความเป็นอยู่และระบบนิเวศโดยรวมของแต่ละภูมิภาค พระราช- กรณียกิจที่ทรงปฏิบัติมาตลอดรัชกาลเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=