สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

การไตร่ตรองการสอน 220 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ขั้นที่ ๓ ขั้นฝึกการคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ (critical reflection) โดยให้ผู้สอนฝึกการน� ำ ประเด็นทางคุณธรรม จริยธรรม สังคมและการเมือง มาใช้ในการพิจารณาสถานการณ์หรือปัญหาที่เกิด ขึ้น และสร้างค� ำอธิบาย ความหมาย ความรู้ และการปฏิบัติที่เหมาะสมให้แก่ตนเองและสังคม การฝึกทักษะการคิดไตร่ตรองให้แก่ ครู อาจารย์ นิสิต นักศึกษาหรือผู้สนใจอื่น ๆ สามารถท� ำได้ ด้วยความช่วยเหลือจากนักวิชาการ ศึกษานิเทศก์ อาจารย์หรือผู้มีทักษะและประสบการณ์ โดยใช้ระบบ การชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง (coaching and mentoring) ในการฝึกและพัฒนา ๗. ความส่งท้าย ภาพการสอนของครูส่วนใหญ่ที่พยายามท� ำหน้าที่ของตน โดยมุ่งสอนเนื้อหาสาระตามที่หลักสูตร ก� ำหนด และให้ความสนใจและความส� ำคัญกับกิจกรรม และเทคนิควิธีการต่าง ๆ ซึ่งท� ำให้การสอนดูทันสมัย แต่ยังขาดการคิดไตร่ตรองถึงความเหมาะสมกับตัวแปรที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ อีกมาก เช่น ความแตกต่างกัน ของผู้เรียนทั้งทางด้านพื้นความรู้ ความสามารถ เจตคติ ความสนใจ ความถนัด ลีลาการเรียนรู้และความ แตกต่างของบริบทที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ทั้งทางด้านครอบครัว ชุมชน สังคม วัฒนธรรม และสิ่ง แวดล้อมทั้งทางธรรมชาติ กายภาพ และจิตวิญญาณ ภาพการสอนนี้จะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่พึง ประสงค์มากขึ้น หากผู้สอนในทุกระดับการศึกษามีการไตร่ตรองการสอน ภาพของครูคนใหม่ก็จะเกิดขึ้น เป็น ภาพครูคนใหม่ที่ปฏิบัติการสอนหรือปฏิบัติงานใด ๆ โดยมีการคิดไตร่ตรอง มิใช่เพียงท� ำไปตาม กรอบที่ก� ำหนด ตามรูปแบบ หรือตามความเคยชิน แต่เป็นครูคนใหม่ที่ตระหนักรู้ในการกระท� ำของตน รู้จุดแข็งจุดอ่อนของตน เข้าใจผู้เรียน เข้าใจปัญหาความต้องการของผู้เรียน และมีการปรับปรุงพัฒนา ตนเองและพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง ภาพนี้คงเป็นภาพที่พึงปรารถนาของวงการศึกษา โดยเฉพาะในยุคที่ สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน ซึ่งเป็นยุคที่ต้องการครูที่ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง สามารถ ปรับ ประยุกต์ และใช้ความรู้อย่างเหมาะสมกับบริบท การไตร่ตรองการสอนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพใน การคิดให้กว้างขึ้น โดยค� ำนึงถึงตัวแปรหลากหลายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งช่วยให้คิดได้ลึกซึ้งขึ้น ผ่านการคิด วิเคราะห์ การใช้เหตุผล (reasoning) การหาเหตุและผล (cause-effect) การเจาะลึกถึงความคิด ความเชื่อ ที่อยู่เบื้องหลังการกระท� ำต่าง ๆ และการวิพากษ์เพื่อคุณภาพชีวิตและสังคมที่ดีขึ้น เหล่านี้ล้วนช่วยให้ ผู้สอนสามารถตัดสินใจกระท� ำการต่าง ๆ ได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น ดังนั้น การไตร่ตรองการสอนจึงเป็น แนวคิดแนวทางที่ครู อาจารย์ และผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาควรให้ความสนใจ ศึกษา เรียนรู้ และน� ำไปใช้ ประโยชน์ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=