สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
219 ทิ ศนา แขมมณี วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ๕.๖ การใช้ค� ำถาม เป็นเทคนิคที่ง่ายและใช้ได้ผลดี ซึ่งสามารถน� ำไปใช้ได้ในทุกขั้นของการ ไตร่ตรองการสอน โดยอาจเป็นค� ำถามเดี่ยว หรือชุดค� ำถามที่ถามต่อเนื่องกันไปจนครบกระบวนการ เช่น ชุดค� ำถามส� ำคัญเพื่อการไตร่ตรองการสอน ๑. ฉันท� ำ อะไร ในชั้นเรียน? ๒. ท� ำไม ฉันจึงท� ำอย่างนั้น? ๓. ผู้เรียนตอบสนอง อย่างไร ? ๔. มีอุปสรรค ปัญหา อะไร เกิดขึ้น? ๕. ผลที่ได้รับมี อะไร บ้าง บรรลุวัตถุประสงค์ เพียงใด ? ๖. ฉันมีความเข้าใจ อะไร เพิ่มขึ้น อธิบายให้เข้าใจ ๗. ฉันควรจะท� ำ อะไร ให้ดีขึ้น และจะท� ำได้ อย่างไร ? ๘. แผนงานที่จะท� ำมีรายละเอียด อะไร บ้าง? ค� ำถามนับเป็นเครื่องมือหรือเทคนิคส� ำคัญในการไตร่ตรองการสอน เพราะส่งผลให้ผู้สอน เกิดการสะท้อนคิดหรือคิดไตร่ตรอง ซึ่งน� ำไปสู่ความเข้าใจในเรื่องที่คิด จนเกิดการเรียนรู้ที่ต้องการ ดังวลีที่นิยมพูดกันในแวดวงการศึกษาว่า “ถามคือสอน สะท้อนคิดคือเรียน” ๖. การฝึกทักษะการคิดไตร่ตรอง เนื่องจากการไตร่ตรองการสอนเป็นทักษะที่ผู้สอนในทุกระดับการศึกษา สามารถน� ำไปใช้ใน การคิดปรับปรุงและพัฒนาการสอนของตน ซึ่งจ� ำเป็นอย่างมากส� ำหรับการเป็นครูคนใหม่ในคริสต์ศตวรรษ ที่ ๒๑ อันเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในแทบทุกด้าน ด้วยเหตุนี้ เคนเนท เอ็ม. ไซช์เนอร์ (Kenneth M. Zeichner, 1993) จึงได้เสนอแนะขั้นตอนการฝึกครู อาจารย์ให้มีความสามารถในการคิด ไตร่ตรองการสอนไว้ ๓ ขั้น คือ ขั้นที่ ๑ ขั้นฝึกการให้เหตุผลเชิงวิชาการ (technical rationality) เป็นการฝึกให้ผู้สอนสามารถ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการสอนของตน และสามารถให้เหตุผลตามแนวคิด หลักการ และทฤษฎีทาง การสอน ขั้นที่ ๒ ขั้นฝึกการคิดไตร่ตรอง (reflectivity) คือการฝึกให้ผู้สอนย้อนคิดไปถึงการกระท� ำ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต และทบทวนถึงเหตุผล ความคิด ความเชื่อ หลักฐานข้อมูล และผลที่เกิด ขึ้น วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนในมุมมองต่าง ๆ สรุปความรู้ ความคิด และเสนอแนวทางและวิธีการใหม่ ๆ เพื่อการปรับปรุงพัฒนางานให้ดีขึ้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=