สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
การไตร่ตรองการสอน 218 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ๕.๓ การสังเกตการสอนโดยเพื่อนครู (peer observation) ผู้สอนสามารถช่วยเหลือกันและกันในการเก็บข้อมูลการเรียนการสอนเพื่อการไตร่ตรอง โดยการผลัดกันสังเกตการสอนของกันและกัน ซึ่งควรด� ำเนินการอย่างเป็นระบบตามขั้นตอนดังนี้ ๕.๓.๑ การมอบหมายบทบาทการท� ำหน้าที่ โดยผู้สอนอาจจับคู่กันและผลัดกันเป็น ผู้สังเกตและผู้ถูกสังเกต ๕.๓.๒ การท� ำความเข้าใจก่อนการสอน โดยผู้สอนให้ข้อมูลแก่ผู้สังเกตเกี่ยวกับชั้นเรียน ผู้เรียน เป้าหมายการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ วิธีการสอน สื่อและวัสดุการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล รวมทั้งปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตกลงกันเกี่ยวกับประเด็นที่ต้องการให้สังเกต เช่น การใช้ค� ำถามของครู การตอบสนองต่อกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน ความสนใจและการใช้เวลาของผู้เรียน ในการท� ำงานที่ได้รับมอบหมาย การตอบค� ำถามของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่าง ผู้เรียนกับผู้เรียน ทั้งนี้ ผู้สอนอาจจัดท� ำเครื่องมือในการสังเกตหรือผู้สอนและผู้สังเกตร่วมกันจัดท� ำขึ้น เพื่อความสะดวกและความสมบูรณ์ในการสังเกต นอกจากนั้น ผู้สังเกตจ� ำเป็นต้องเข้าใจวิธีการสังเกต และวิธีการบันทึกข้อมูลการสังเกตโดยไม่มีการประเมินตัดสิน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงตามความเป็นจริง ๕.๓.๓ การสังเกตการสอน คือการสังเกตการสอนของผู้สอน โดยผู้สังเกตมีการสังเกต และบันทึกข้อมูลการสังเกตตามที่ได้ตกลงกันไว้ ๕.๓.๔ การอภิปรายหลังการสังเกตการสอน ผู้สังเกตการสอนควรพบผู้สอนให้เร็วที่สุด หลังการสังเกตการสอนเพื่อให้ข้อมูลการสังเกตแก่ผู้สอน การได้พูดคุยกันทันที ไม่ทิ้งช่วงนานเกินไป ช่วยให้ข้อมูลไม่ตกหล่นสูญหาย เพราะทั้งผู้สอนและผู้สังเกตยังไม่ทันลืมเหตุการณ์ ข้อมูล ความรู้สึก และ ความคิดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ช่วยให้การสื่อสารกันเกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ในขั้นนี้ ผู้สอนจะได้รับข้อมูลจ� ำนวน มากเกี่ยวกับการสอนของตน และอาจค้นพบประเด็นส� ำคัญที่ต้องการน� ำไปคิดไตร่ตรองต่อไป ๕.๔ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เรียน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจ ความคิดเห็น ความรู้สึก เจตคติ และพฤติกรรมหรือการกระท� ำต่าง ๆ ของผู้เรียน โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น แบบสอบ แบบวัดเจตคติ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบส� ำรวจพฤติกรรมการปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์ผู้เรียน รวมทั้ง แบบสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) เกี่ยวกับการเรียนการสอนที่ได้จากผู้เรียน เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากต่อการไตร่ตรองการสอน ๕.๕ การเก็บรวบรวมข้อมูลและการด� ำเนินการคิดไตร่ตรองผ่านการจัดกลุ่มแบบต่าง ๆ เช่น กลุ่มร่วมมือ (cooperative learning group) กลุ่มระดมสมอง (brainstorming group) กลุ่มหามติ เอกฉันท์ (consensus building group) กลุ่มอภิปราย (discussion group)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=