สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
การไตร่ตรองการสอน 216 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 การบันทึกเทปวีดิทัศน์การสอน การสังเกตการสอนโดยเพื่อน การให้ผู้เรียนให้ข้อมูลย้อนกลับ การสอบถาม หรือสัมภาษณ์ผู้เรียน ขั้นที่ ๓ การไตร่ตรองการสอน เป็นขั้นที่ผู้สอน/ผู้ไตร่ตรอง น� ำข้อมูลที่รวบรวมได้มาศึกษา ท� ำความเข้าใจและคิดไตร่ตรอง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้ไตร่ตรองจะใช้วิธีการหลัก ๆ ที่ส� ำคัญ ๔ ประการ ดังนี้ ๓.๑ คิด คือการศึกษาและเชื่อมโยงข้อมูลอย่างพินิจพิจารณาเกี่ยวกับพฤติกรรม ที่เกิดขึ้น วิธีการที่ใช้ การตอบสนองของผู้เรียน ผลลัพธ์ที่ได้รับ อุปสรรค และปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้ง บริบทแวดล้อม โดยให้ความสนใจในจุดที่ตนอาจไม่เคยสังเกตหรือรู้มาก่อน แล้วเลือกหรือก� ำหนดประเด็น การไตร่ตรอง ต่อไปจึงด� ำเนินการคิดไตร่ตรองในประเด็นนั้น โดยการวิเคราะห์หาเหตุผล ค้นหาความคิด ความเชื่อ หรือความต้องการต่าง ๆ ที่อยู่เบื้องหลังของการกระท� ำ พิจารณาความสัมพันธ์และความเหมาะสม ของประเด็นที่คิดไตร่ตรองกับหลักคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม สังคม การเมือง กฎหมายและวัฒนธรรม จนกระทั่งได้ค� ำตอบที่เป็นความคิดเห็นส่วนตน ๓.๒ พูด เมื่อคิดจนได้ข้อสรุปและความคิดเห็นส่วนตนแล้ว ผู้ไตร่ตรองควรพูดเล่า และอธิบายความคิดที่สรุปได้ให้เพื่อนครูหรือบุคคลอื่นฟัง โดยมีการขอและรับฟังความคิดเห็น และอภิปราย ร่วมกัน จนได้ข้อสรุปที่สามารถน� ำไปใช้พัฒนาตนเอง และพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป ๓.๓ อ่าน ในการด� ำเนินการตามข้อ ๓.๑ และ ๓.๒ ข้างต้น ถ้าผู้ไตร่ตรองพบว่า ตนยังขาดข้อมูลความรู้บางเรื่อง หรือเกิดความสงสัยและต้องการค� ำตอบในบางประเด็น ควรพยายาม ค้นคว้าหาแหล่งเรียนรู้ อ่านและศึกษาข้อมูลความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น ๓.๔ ถาม นอกเหนือจากการอ่านแล้ว ผู้สอนอาจใช้การถามขอความคิดเห็นจากผู้อื่น หรือสามารถขอความคิดเห็นผ่านทางสื่อและบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Online Network Service) ได้ ขั้นที่ ๔ สรุป ตัดสินใจ และวางแผนพัฒนา หลังจากด� ำเนินการคิดไตร่ตรองจนเกิดความ เข้าใจในประเด็นที่ไตร่ตรอง และได้ข้อสรุปเป็นที่พอใจแล้ว ผู้สอนหรือผู้ไตร่ตรองจะต้องคิดและตัดสินใจ ว่าควรจะท� ำอะไร อย่างไร ต่อไปในเรื่องที่คิด จะท� ำอะไรเหมือนเดิม หรือจะปรับเปลี่ยน หรือพัฒนาอะไร ให้ดีขึ้นอย่างไร และด� ำเนินการวางแผนปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงการสอนหรือการปฏิบัติงานของตน ต่อไป หลังจากขั้นที่ ๔ ผู้สอนที่ได้ด� ำเนินการไตร่ตรองการสอนของตนจะมีแผนการพัฒนาการสอน ที่พร้อมน� ำไปใช้ และเมื่อน� ำไปใช้ก็จะเกิดเหตุการณ์การเรียนการสอนขึ้น ซึ่งจะน� ำผู้สอนกลับไปด� ำเนิน การตามขั้นที่ ๑ อีกครั้ง เป็นการเริ่มต้นวัฏจักรของการไตร่ตรองการสอนรอบใหม่ต่อไปเรื่อย ๆ ดังนั้น การไตร่ตรองการสอนจึงเป็นกระบวนการของการพัฒนาตนเอง พัฒนาการสอน และพัฒนาวิชาชีพที่มี ความต่อเนื่องซึ่งก่อให้เกิดความมั่นคงและความยั่งยืนในการพัฒนา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=