สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
215 ทิ ศนา แขมมณี วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ รวมทั้งช่วยให้เห็นประเด็นปัญหาและความส� ำคัญในการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาการสอนของตนให้ดีและ มีประสิทธิภาพขึ้น ๔. กระบวนการของการไตร่ตรองการสอน อันที่จริง ครู อาจารย์ โดยทั่วไป มีการไตร่ตรองหรือสะท้อนคิดการสอนอย่างไม่เป็นทางการ อยู่บ้างแล้ว ดังจะเห็นได้จากการที่ครู อาจารย์ ทั้งหลาย มักจะพูดคุยหรือปรับทุกข์กันเกี่ยวกับผู้เรียนและ การสอนของตน แต่การพูดคุยกันนั้นมักเป็นการบอกเล่าโดยใช้เวลาสั้น ๆ และผู้เล่ามักสรุปเรื่องตามความ เข้าใจของตนอย่างรวดเร็ว ขาดการคิดวิเคราะห์เหตุและผล ขาดการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ และขาด การอภิปรายที่จะช่วยให้เห็นแง่มุมที่หลากหลาย จึงอาจท� ำให้การคิด การสรุปผล และการตัดสินใจ เกิด ความผิดพลาดได้ การไตร่ตรองหรือการสะท้อนคิดที่ดีมีกระบวนการที่เป็นระบบ มีการรวบรวมข้อมูลและ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อน� ำมาใช้ในการคิดเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เหมาะสม สามารถน� ำไปใช้พัฒนาตนเอง พัฒนา การเรียนการสอน และพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น การไตร่ตรองการสอนเป็นกระบวนการที่มีลักษณะเป็นวัฏจักร ประกอบด้วยขั้นตอนหลักส� ำคัญ ๔ ขั้นตอน ได้แก่ ๑) ขั้นการเกิดเหตุการณ์ ๒) ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น ๓) ขั้นการคิดไตร่ตรอง และ ๔) ขั้นสรุป ตัดสินใจ และวางแผนพัฒนา ทั้งนี้ เมื่อตัดสินใจที่จะกระท� ำอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ก็จะน� ำกลับไปสู่ขั้นที่ ๑ คือ การเกิด เหตุการณ์ (ครั้งใหม่) เป็นการเริ่มต้นกระบวนการไตร่ตรองเป็นรอบที่ ๒ ต่อไป ขั้นตอนดังกล่าวมีลักษณะ การด� ำเนินการดังนี้ ขั้นที่ ๑ การเกิดเหตุการณ์ จุดเริ่มต้นของการไตร่ตรองการสอนก็คือ เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับ การสอนของผู้สอน ซึ่งจะน� ำไปสู่จุดหรือประเด็นที่ผู้สอนจะด� ำเนินการคิดไตร่ตรองต่อไป ประเด็นที่น� ำ ไปไตร่ตรองอาจค้นพบโดยผู้สอนเอง หรืออาจจะได้จากการสังเกตของผู้อื่น เช่น ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ หัวหน้าสายงาน หรือเพื่อนครูก็ได้ ขั้นที่ ๒ การเก็บรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นการเก็บข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง โดยไม่มีการตัดสินหรือเสริมเติมความคิดเห็นใด ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงตามความเป็นจริง ในขั้นนี้ผู้สอน สามารถใช้วิธีการหลากหลายในการเก็บข้อมูล เช่น การบันทึกเหตุการณ์การสอน การบันทึกเสียงการสอน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=