สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
การไตร่ตรองการสอน 214 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ๒) ใช้หลังจากการปฏิบัติงาน หรือหลังจากเกิดเหตุการณ์ หรือการกระท� ำต่าง ๆ เพื่อสร้าง ความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นหรือเพื่อพิจารณาความถูกต้อง เหมาะสมของเรื่อง เหตุการณ์ ความคิดและ การกระท� ำที่ได้เกิดขึ้นแล้ว เป็นการไตร่ตรองหรือการสะท้อนคิดหลังการกระท� ำหรือเหตุการณ์ (reflection on action) ๓) ใช้ในการวางแผนปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น เป็นการไตร่ตรองหรือ การสะท้อนคิดเพื่อการปฏิบัติงานต่อไปในอนาคต (reflection for action) ในทางการศึกษา การพัฒนาครูอาจารย์ให้สามารถคิดไตร่ตรองการปฏิบัติงานของตนในด้าน ต่าง ๆ เช่น การจัดหลักสูตร และกิจกรรมการเรียนการสอน การปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน การดูแลและ แก้ปัญหาผู้เรียน การใช้สื่อเทคโนโลยี การวัดและประเมินผล เหล่านี้สามารถช่วยให้ครูอาจารย์เกิดความ เข้าใจในความคิด ความรู้สึก และการกระท� ำของตน ส่งผลให้เห็นความส� ำคัญและความจ� ำเป็นที่จะต้อง พัฒนาตนเองและปรับปรุงการสอนของตนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ การคิดไตร่ตรองเชิง วิพากษ์ยังเป็นองค์ประกอบส� ำคัญในกระบวนการสร้างความรู้เชิงวิชาการซึ่งน� ำไปสู่ความก้าวหน้าทาง วิชาชีพ ด้วยเหตุผลดังกล่าว “reflective teaching” ซึ่งก็คือ การไตร่ตรองการสอน หรือการสะท้อนคิด การสอน จึงได้รับความสนใจน� ำมาใช้ในวงการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการพัฒนาครู อาจารย์ และ วิชาชีพทางการศึกษา ๓. ความหมายของการไตร่ตรองการสอน หรือการสะท้อนคิดการสอน (reflective teaching) ในวงการศึกษา นิยมใช้ค� ำ “reflect” คู่กับค� ำว่า “การคิด” (thinking) ซึ่งหมายถึง “การคิดไตร่ตรอง” หรือ “การสะท้อนคิด” (reflective thinking) นอกจากนั้น ยังน� ำมาใช้คู่กับค� ำว่า “การสอน” (teaching) ซึ่งมีความหมายถึง การไตร่ตรองการสอน หรือ การสะท้อนคิดการสอน (reflective teaching) ด้วย การไตร่ตรองการสอนหรือการสะท้อนคิดการสอน หมายถึง กระบวนการที่ผู้สอนมีการหันกลับ ไปดูสิ่งที่ได้ท� ำไปแล้วหรือได้เกิดขึ้นแล้ว และคิดพิจารณาทบทวนการคิดการกระท� ำและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ เกิดขึ้นในการเรียนการสอนของตน โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และคิดไตร่ตรองถึงเหตุ และผลของการกระท� ำต่าง ๆ รวมทั้งค้นหาหรือตรวจสอบความเชื่อที่อยู่เบื้องหลังของการกระท� ำ รวมไป ถึงความเหมาะสมตามหลักคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม สังคม และบริบทเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่ง ผลต่อพฤติกรรมการสอนของผู้สอนและพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน การคิดทบทวนและไตร่ตรองนี้ สามารถช่วยให้ผู้สอนเกิดความเข้าใจในปรากฏการณ์การสอนที่เกิดขึ้น เข้าใจตนเองและเข้าใจผู้เรียนมากขึ้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=