สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
213 ทิ ศนา แขมมณี วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ วัตถุประสงค์หรือเหตุผลในการท� ำสิ่งนั้น เป็นการกระท� ำที่ขาดการคิดวิพากษ์และการคิดไตร่ตรองในสิ่งที่ท� ำ และ ๒) พฤติกรรมหรือการกระท� ำแบบไตร่ตรอง (reflective action) เป็นการกระท� ำที่มีการคิดพิจารณา ถึงความเชื่อ เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ รวมทั้งเหตุและผลของการกระท� ำนั้น พฤติกรรมการคิดไตร่ตรอง จึงเป็นพฤติกรรมที่กระท� ำด้วยความเข้าใจอย่างชัดเจน จอห์น ดิวอี ได้เชื่อมโยงพฤติกรรมของคนทั่วไปดังกล่าวสู่ความส� ำคัญและความจ� ำเป็นที่ การศึกษาจะต้องท� ำหน้าที่เชื่อมโยงชีวิตกับบริบททางสังคม วัฒนธรรม คุณธรรม และการเมือง มิใช่ เพียงรับและถ่ายทอดความรู้ที่เรียนต่อ ๆ กันมาเท่านั้น แต่จะต้องท� ำหน้าที่พิจารณาและวิพากษ์ความ เหมาะสมของความรู้เหล่านั้นกับบริบททางสังคม วัฒนธรรม การเมือง กฎหมาย คุณธรรมและจริยธรรมด้วย ดังนั้นทักษะการคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ (critical reflection) ซึ่งเป็นทักษะการคิดไตร่ตรองระดับสูงสุด จึงเป็นภาระหน้าที่ของการศึกษาที่จะต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน เพื่อคุณภาพของชีวิตและสังคมที่ดี ขึ้น โดยมีการพัฒนาไปตามระดับขั้นของการคิดซึ่งจัดได้เป็น ๔ ระดับคือ ระดับที่ ๑ การคิดตามความเคยชิน (habitual action) บุคคลที่มีการคิดระดับนี้เป็นผู้ที่คิด โดยใช้วิธีการแบบเดิม ๆ ที่ตนเคยใช้มาก่อน เป็นการคิดการปฏิบัติที่เป็นไปอย่างอัตโนมัติตามความเคยชิน หรือประสบการณ์เดิม ระดับที่ ๒ การคิดจากความเข้าใจ (understanding) เป็นการคิดที่บุคคลใช้ในการท� ำงาน และการแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยการน� ำความรู้ความเข้าใจที่มีมาใช้ในการท� ำงานให้ประสบความส� ำเร็จ หรือ ใช้สร้างความเข้าใจในปัญหาและคิดหาวิธีแก้ปัญหา ระดับที่ ๓ การคิดไตร่ตรองหรือการสะท้อนคิด (reflection) เป็นการคิดที่บุคคลใช้ในการสร้าง ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยการมองย้อนกลับไปในสิ่งที่ได้กระท� ำหรือเกิด ขึ้นแล้ว และคิดพิจารณาทบทวนเหตุและผล ความคิด ความเชื่อ ข้อมูลหลักฐาน ผลที่เกิดขึ้น รวมทั้งความ เหมาะสมกับบริบทด้านต่าง ๆ การไตร่ตรองดังกล่าวสามารถสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้คิดเพิ่มขึ้น และ มักส่งผลให้ผู้คิดมองเห็นช่องทาง แนวทาง หรือวิธีการใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหาหรือการปฏิบัติงาน ระดับที่ ๔ การคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ (critical reflection) เป็นการคิดไตร่ตรองที่มีการ พินิจพิจารณาตรวจสอบหาเหตุผลทางด้านคุณธรรม จริยธรรม ในประเด็นต่าง ๆ ทางด้านสังคม กฎหมาย การเมือง วัฒนธรรม บริบทและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมให้ดีขึ้น จากแนวคิดข้างต้น จะเห็นได้ว่า การไตร่ตรองหรือการสะท้อนคิดเป็นทักษะที่ส� ำคัญ เพราะ เป็นทักษะที่สามารถน� ำไปใช้ในชีวิตประจ� ำวันได้มาก คือ ๑) ใช้ในขณะปฏิบัติงาน เผชิญสถานการณ์ หรือกระท� ำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรียกว่า การไตร่ตรอง หรือการสะท้อนคิดขณะปฏิบัติงาน (reflection in action)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=