สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ปิยนาถ บุนนาค 15 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ในการพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ในสาขาวิชาดังกล่าว กับทั้งมีบทบาทในการให้ค� ำปรึกษาทางวิชาการ ให้แก่รัฐบาล ภาคราชการ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมมายุเพียง ๙ พรรษา แต่ยังคงประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาเล่าเรียน จึงต้อง มีคณะผู้ส� ำเร็จราชการแทนพระองค์ปฏิบัติหน้าที่ และเนื่องจากทรงด� ำรงพระราชฐานะพระมหากษัตริย์ ในระบอบประชาธิปไตยจึงทรงบริหารราชการแผ่นดินผ่านคณะรัฐมนตรี พระราชกรณียกิจส� ำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความส� ำเร็จในการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่ พระราชกรณียกิจในฐานะที่เป็นยุวกษัตริย์ผู้ทรงเป็น “แบบอย่างอันงดงาม” แก่เยาวชนไทย ทั้งนี้เนื่อง ด้วยพระราชอัธยาศัยอันงดงาม ประกอบด้วย ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความอดทน อดกลั้น และความ เสียสละประโยชน์สุขส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ความขยันหมั่นเพียรเอาใจใส่ต่อการศึกษาเล่าเรียน ความขวนขวายใฝ่รู้ในสิ่งที่เป็นสารประโยชน์ การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยท� ำงานอดิเรกด้าน การช่าง การกีฬา และการดนตรี ตลอดจนทรงเป็นแบบอย่างของความประหยัด มัธยัสถ์ ความสุภาพ อ่อนโยน ความมีเมตตา ความอ่อนน้อมถ่อมตน ซึ่งสามารถเอาชนะอุปสรรคทั้งปวง รวมทั้งสามารถเอาชนะ จิตใจผู้อื่นได้ และความเป็นประชาธิปไตยโดยไม่แบ่งชนชั้น เคารพในเหตุผลผู้อื่น พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลทรงมีส่วนท� ำให้เหตุการณ์ทางการเมือง คลี่คลายไปสู่ความสงบสุขจากปัญหาทางการเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ นอกจากนี้ ทรงมีส่วนท� ำให้ สถานภาพของประเทศไทยรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ ทรงยุติความขัดแย้งระหว่างชาวไทยกับชาวจีนได้ ส� ำเร็จจากการเสด็จประพาสส� ำเพ็ง การพระราชทานรัฐธรรมนูญและเสด็จพระราชด� ำเนินไปทรงเปิด สภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนการพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน สะท้อนให้ เห็นถึงความส� ำคัญของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ในด้านการบริหารบุคคล ทรงสามารถ ประสานประโยชน์กับกลุ่มต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะทรงสามารถ “เข้าถึง” ประชาชนได้อย่างแท้จริง ทรงได้รับความจงรักภักดีอย่างยิ่งจากพสกนิกร ทรงสามารถสร้างความเป็นเอกภาพและความสามัคคีให้ เกิดขึ้นในชาติได้ส� ำเร็จ นอกจากนี้ยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติอีกหลายประการ ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านศาสนา และด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่เคารพรักและ ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจร่วมกันของประชาชน อันก่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีภายในชาติ ดังนั้น รัฐบาลจึงประกาศให้วันที่ ๒๐ กันยายนของทุกปีเป็นวันเยาวชนแห่งชาติ เนื่องด้วยวันที่ ๒๐ กันยายน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=