สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
การไตร่ตรองการสอน 212 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ทางเลือกใหม่ ๆ ที่จะเหมาะสมกับบริบทที่แตกต่างกันมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินแบบปฏิบัติ ต่าง ๆ และตัดสินใจบนฐานความรู้ ข้อมูล และบริบทที่เกี่ยวข้อง ระดับที่ ๔ ระดับการปฏิบัติงานที่ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม (dialectical level) เป็นระดับการปฏิบัติงานที่ผู้สอนมีการคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ในประเด็นที่ส่งผลระดับกว้างต่อสังคม และ ประเทศชาติ เช่น ประเด็นเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม กฎหมาย การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งถือ เป็นหน้าที่ของการศึกษาที่จะต้องชี้น� ำสังคมให้ก้าวหน้าไปในทางที่ถูกที่ควร หากมองสถานการณ์การเรียนการสอนของประเทศไทยในภาพรวม คงพอจะกล่าวได้ว่า ครู อาจารย์ส่วนใหญ่ที่สอนในระดับการศึกษาต่าง ๆ มีการปฏิบัติงานสอนอยู่ในระดับที่ ๑ และมีส่วนน้อยจ� ำนวน หนึ่งอยู่ในระดับที่ ๒ และ ๓ ส่วนในระดับที่ ๔ อาจมีอยู่บ้างแต่คงเป็นส่วนที่น้อยมาก หากรัฐหรือผู้เกี่ยวข้อง ให้ความสนใจศึกษา ส� ำรวจและวิจัย ให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนในเรื่องนี้ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนา ครู อาจารย์ และการศึกษาของประเทศ การพัฒนาครู อาจารย์ ซึ่งเป็นบุคลากรส� ำคัญในการพัฒนาผู้เรียน และการศึกษาของประเทศให้สามารถปฏิบัติงานสอนของตนเพิ่มจากระดับที่ ๑ ขึ้นเป็นระดับที่ ๒ และ ๓-๔ ต่อไป จะช่วยเพิ่มคุณภาพการศึกษาของประเทศในภาพรวม ซึ่งการด� ำเนินการในเรื่องนี้ สามารถ ท� ำได้โดยใช้นวัตกรรมการสอนที่เรียกว่า การไตร่ตรองการสอน หรือการสะท้อนคิดการสอน (reflective teaching) ๒. ความหมายของการไตร่ตรองหรือการสะท้อนคิด (reflective thinking) ค� ำว่า “reflect” ตามพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๕ มีความหมายถึงการ “วกกลับ ย้อนกลับ เช่น แสงสะท้อน เสียงสะท้อน” เมื่อน� ำมาใช้สื่อความหมาย ทางการศึกษาจะหมายถึงการไตร่ตรอง หรือการสะท้อนคิด คือ การคิด พิจารณา ทบทวนย้อนกลับไปมา อย่างรอบคอบ เกี่ยวกับความคิด ความรู้สึก พฤติกรรม ปฏิสัมพันธ์และการกระท� ำทั้งของตนและผู้อื่นใน สถานการณ์และบริบทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนและลึกซึ้งอันจะส่งผลต่อการตัดสินใจและ การกระท� ำต่าง ๆ ในอนาคต ความหมายนี้นับว่าสอดคล้องกับความคิดของนักศึกษาอีกหลายท่านที่กล่าว ว่า “reflection” เป็นค� ำที่สื่อความหมายถึง “การสะท้อนภาพของกระจก” (mirroring) “การท� ำสมาธิ” (meditation) “การคิดอย่างลึกซึ้ง” (deep thinning) และ “การแปลงสภาพ” (transformation) แนวคิดการไตร่ตรองหรือการสะท้อนคิดนี้ มีที่มาจากนักการศึกษาคนส� ำคัญคือ จอห์น ดิวอี (John Dewey, 1993) ซึ่งได้อธิบายว่า พฤติกรรมหรือการกระท� ำของคนทั่วไป สามารถจัดได้เป็น ๒ ประเภท คือ ๑) พฤติกรรมหรือการกระท� ำตามความเคยชิน (routine or habitual action) เป็นการ กระท� ำที่ท� ำบ่อย ๆ จนเป็นอัตโนมัติ ส่งผลให้เกิดการกระท� ำโดยไม่ต้องคิด ท� ำไปตามความเคยชินจนอาจลืม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=