สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

211 ทิ ศนา แขมมณี วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ๔) บริบทในการเรียนการสอน ซึ่งได้แก่ โรงเรียนสถานศึกษา ครอบครัว ชุมชน เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติและกายภาพ การสอนที่ดีจ� ำเป็นต้องพิจารณาตัวแปรทั้ง ๔ ด้านที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยมี เป้าหมายเพื่อน� ำผู้เรียนไปสู่วัตถุประสงค์ที่ก� ำหนดและมีคุณภาพตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ แต่ในทางปฏิบัติ แล้วกลับพบว่า ครู อาจารย์ที่เป็นผู้สอนส่วนใหญ่ให้ความสนใจและใส่ใจกับตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร เป็นส� ำคัญ และค่อนข้างละเลยตัวแปรอื่น ๆ ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีสาเหตุหลายประการ แต่ที่สามารถ กล่าวได้อย่างชัดเจนประการหนึ่งก็คือ ผู้สอนทั้งหลายต่างก็มีความกังวลว่าตนจะต้องได้รับการประเมิน การปฏิบัติการสอนสาระต่าง ๆ ตามหลักสูตร จึงให้ความสนใจมุ่งไปที่การออกแบบการสอนเนื้อหาสาระ ให้ตอบสนองจุดมุ่งหมายที่หลักสูตรก� ำหนด และพยายามแสวงหาหรือคิดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้อง กับทฤษฎีหรือหลักการต่าง ๆ ที่ได้รับการยอมรับ ท� ำให้ได้แบบการสอนที่ดูดี แต่ในทางปฏิบัติอาจไม่ได้รับ ผลดีเท่าที่ควร เนื่องจากยังมีตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งผู้สอนยังไม่ได้น� ำ มาพิจารณาและจัดการอย่างเหมาะสม มีนักการศึกษาหลายท่านที่ได้พยายามจัดระดับการปฏิบัติการสอนของครู แนวคิดหนึ่ง ที่น่าสนใจคือแนวคิดของเยอร์เมน แท็กการ์ต (Germaine Taggart, 2005) ที่จัดระดับไว้เป็น ๓ ระดับ แต่ผู้เขียนขอปรับเป็น ๔ ระดับ โดยเพิ่มระดับการปฏิบัติงานที่ยังไม่มีการคิดไตร่ตรอง ซึ่งเป็นระดับพื้นฐาน ของ ๓ ระดับดังกล่าว เพื่อให้ครอบคลุมการปฏิบัติงานของครู อาจารย์ ในภาพรวม ดังนี้ ระดับที่ ๑ ระดับการปฏิบัติงานที่มุ่งใช้ความรู้ทางวิชาการ (technical level) เป็นระดับการ ปฏิบัติการสอนที่ผู้สอนมุ่งใช้ความรู้ทางวิชาการในการออกแบบและจัดการเรียนการสอน โดยให้ความ ส� ำคัญกับกระบวนการ วิธีการ และเทคนิคต่าง ๆ ที่จะช่วยให้การสอนบรรลุจุดมุ่งหมาย เป็นระดับพื้นฐาน ของการปฏิบัติงานสอนที่ผู้สอนยังไม่มีการคิดไตร่ตรองเกี่ยวกับตัวแปรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ระดับที่ ๒ ระดับการปฏิบัติงานที่มุ่งใช้ความรู้ทางวิชาการอย่างไตร่ตรอง (reflective technical level) การปฏิบัติงานในระดับนี้ ผู้สอนมีการคิดไตร่ตรองในการน� ำความรู้มาใช้ เริ่มมีการตั้ง ค� ำถามถึงความเหมาะสมของเทคนิควิธีการต่าง ๆ ที่จะน� ำมาใช้กับผู้เรียน มีการสังเกตพฤติกรรมตอบสนอง ของผู้เรียน และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมีการสังเกตและรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา มีการแสวงหา คิดค้น วิธีการและนวัตกรรมมาใช้เพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้น และมีการพัฒนาปรับปรุงตนเอง พัฒนาการสอน และพัฒนา ผู้เรียนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น ระดับที่ ๓ ระดับการปฏิบัติงานที่ตระหนักถึงความส� ำคัญของบริบท (contextual level) เป็นระดับการปฏิบัติงานที่ผู้สอนมีการคิดไตร่ตรองในตัวแปรด้านบริบท เพิ่มขึ้นจากระดับที่ ๒ มีการมองหา

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=