สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 การไตร่ตรองการสอน ทิศนา แขมมณี ภาคีสมาชิก ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา บทคัดย่อ การไตร่ตรองการสอนเป็นการสอนที่ผู้สอนมีการหันกลับไปดูสิ่งที่ท� ำไปแล้วหรือได้เกิดขึ้น แล้วในการจัดการเรียนการสอนของตน และคิดพิจารณาทบทวนการคิดการกระท� ำและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และคิดไตร่ตรองถึงพฤติกรรมการเรียนการสอน เหตุและผลของการกระท� ำต่าง ๆ รวมทั้งค้นหาหรือตรวจสอบความเชื่อที่อยู่เบื้องหลังของการกระท� ำ นั้นและพิจารณาถึงความเหมาะสมตามหลักคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม สังคม และบริบทเกี่ยวข้อง การปฏิบัติการสอนหรือปฏิบัติงานใด ๆ โดยมีการคิดไตร่ตรองอย่างเป็นระบบและใช้เทคนิควิธีการ และ เครื่องมือที่หลากหลาย สามารถช่วยให้ผู้สอนเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในปรากฏการณ์การสอนที่เกิดขึ้น รวมทั้งเข้าใจตนเองและผู้เรียนมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนมีการปรับปรุงหรือพัฒนาการสอนของตนให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น และเกิดการพัฒนาและความก้าวหน้าทางวิชาชีพต่อไป ค� ำส� ำคัญ : การไตร่ตรองการสอน, การคิดไตร่ตรอง, การไตร่ตรอง, การไตร่ตรองเชิงวิพากษ์, การพัฒนา วิชาชีพครู ๑. ความน� ำ ตามทฤษฎีและหลักการด้านการเรียนรู้และการสอน กล่าวได้ว่าตัวแปรส� ำคัญที่จ� ำเป็นต้อง น� ำมาพิจารณาในการออกแบบการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนประกอบด้วย ๑) หลักสูตรซึ่งก� ำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ จุดมุ่งหมาย สาระการเรียนรู้ และวิธีการวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ ๒) ผู้เรียนซึ่งมีความแตกต่างหลากหลายทั้งในด้านพื้นฐานทางครอบครัว เศรษฐกิจ และสังคม รวมไปถึงพื้นฐานทางการเรียน ความรู้ ความสนใจ ความถนัด ความสามารถและเจตคติต่อการเรียน ๓) ผู้สอนซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ เจตคติต่อ สาระวิชาที่สอน ผู้เรียน การสอน และวิชาชีพ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=