สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

สวั สดิ การสั งคม : แนวคิ ดและการประยุกต์ในสั งคมไทย 206 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ๓. การพัฒนาการเกษตรสู่ความเป็นเลิศด้านอาหาร โดยให้ความส� ำคัญในการปรับ โครงสร้างการผลิตภาคเกษตร และเร่งพัฒนาและขับเคลื่อนการผลิตเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง เป็นต้น ๔. การพัฒนาศักยภาพคนให้สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศ และมีคุณภาพชีวิต ที่ดี ประกอบด้วย การพัฒนาคนในทุกช่วงทุกวัยให้สนับสนุนการเติบโตของประเทศ ยกระดับคุณภาพ การศึกษาและการเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีมีสุข ของครอบครัวไทยให้เอื้อต่อการพัฒนาคน ๕. การสร้างความเสมอภาคเพื่อรองรับสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ โดยการสร้างโอกาส ในการเข้าถึงทรัพยากรและบริการทางสังคมอย่างเสมอภาค สร้างความมั่นคงด้านรายได้ และโอกาส ในการประกอบอาชีพ การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเสมอภาค และการสร้างความเข้มแข็ง ของชุมชนและการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เป็นต้น ๖. การพัฒนาพื้นที่ภาค และการเชื่อมโยงภูมิภาค โดยการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน พัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่ฐานเศรษฐกิจหลัก และการพัฒนาด้านขนส่งและโลจิสติกส์เชื่อมโยงในประเทศ และภูมิภาค โดยพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง พัฒนาโครงข่ายระบบรางเชื่อมโยงเมือง ศูนย์กลางความเจริญทั่วประเทศ และพัฒนาระบบอ� ำนวยความสะดวกด้านการค้าและการผ่านแดนที่มี ความคล่องตัวในประตูการค้าชายแดนที่ส� ำคัญ ๗. การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงด้านภัยพิบัติ เพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด และน� ำไปสู่ การพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อท้าทายของสวัสดิการสังคมในปัจจุบันมีหลายประการด้วยกัน ในที่นี้ขอหยิบยกมา ๒ เรื่อง ใหญ่ ๆ คือ ๑. จะเป็นสวัสดิการแบบถ้วนหน้า (จนหรือรวยได้รับสวัสดิการเหมือนกัน) หรือเป็น แบบให้เฉพาะคนจน (ต้องพิสูจน์ว่าจนถึงจะได้) ๒. รัฐจะหาเงินมาจากไหนเพื่อใช้จ่ายด้านสวัสดิการสังคม จะมาจากรายได้ภาษีอากร หรือมาจากการสมทบเงินของผู้ได้ประโยชน์ เช่น ระบบประกันสังคมของไทยในปัจจุบัน ข้อถกเถียงนี้ ถือว่าเป็นข้อถกเถียงพื้นฐานที่จะต้องเกิดกับทุกประเทศที่รัฐต้องการจัดระบบสวัสดิการสังคม จากการอภิปรายข้างต้น ในภาพรวมแนวคิดสวัสดิการสังคมของคนไทยในปัจจุบันยังคงมี ภาครัฐเป็นผู้น� ำในด้านการจัดสวัสดิการสังคมทั้งแบบสงเคราะห์และแบบประกัน บทบาทในภาคเอกชน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=