สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

205 ปฐมาภรณ์ บุษปธ� ำรง วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ อย่างไรก็ตาม จากการประเมินสถานะในปัจจุบันพบว่า ประเทศไทยยังคงติดอยู่ในกับดักประเทศ ที่มีรายได้ปานกลาง จากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ชะลอตัวลง เนื่องมาจากความล่าช้าในการเปลี่ยนผ่าน ด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย การลงทุนลดลง รวมไปถึงการขาดแคลนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา ขณะเดียวกัน หนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้น แต่รายได้เข้าประเทศกลับลดลง ซึ่งกระทบต่อเสถียรภาพทางด้าน การเงินการคลัง ด้านนักลงทุนขาดความเชื่อมั่น ราคาสินค้าเกษตรตกต�่ ำ และขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศลดลง จากการจัดอันดับล่าสุด พ.ศ. ๒๕๕๘ ขีดความสามารถของไทยลดลงจากเดิม อันดับ ๒๙ ลงมาอยู่อันดับ ๓๐ จาก ๖๑ ประเทศทั่วโลก ในด้านสังคม ประเทศไทยก� ำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ กระทบค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข ที่ต้องมีเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน การกระจายประโยชน์ของการพัฒนาไปยังกลุ่มคนต่าง ๆ ในสังคมยัง ไม่ทั่วถึง จึงจ� ำเป็นต้องมีแนวทางในการแก้ปัญหาทั้งด้านการศึกษา สาธารณสุข และสวัสดิการสังคม รวมไปถึงปัญหาการค้ายา ความขัดแย้งทางการเมือง การสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนความท้าทาย จากภัยธรรมชาติที่มีมากขึ้น ส� ำหรับกรอบหลักการของแผนฉบับที่ ๑๒ ยังคงน้อมน� ำและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเริ่มใช้มาตั้งแต่แผนฉบับที่ ๘ อีกทั้งจะยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่าง มีส่วนร่วม และการพัฒนาที่ยึดหลักสมดุล ส่วนวิสัยทัศน์ของการพัฒนา มุ่งให้ความส� ำคัญในการก� ำหนด ทิศทางการพัฒนาที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทย จากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มี รายได้สูง มีการกระจายรายได้และพัฒนาอย่างเท่าเทียม มีระบบนิเวศที่ดี สังคมเป็นสุข และน� ำไปสู่ การบรรลุวิสัยทัศน์ระยะยาวของประเทศคือ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” แนวทางการพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ ประกอบด้วย ๗ เรื่องหลัก คือ ๑. การพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวม ประกอบด้วย การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้าน คมนาคมขนส่งและระบบโลจิสติกส์ของประเทศ สนับสนุนการเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมและ บริการที่ทันสมัย การลงทุนเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ ำ ภายใต้ยุทธศาสตร์การบริหารจัด การทรัพยากรน�้ ำระยะ พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๙ และการใช้ประโยชน์จากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน ๒. การพัฒนาเศรษฐกิจรายสาขา มุ่งส่งเสริมด้านการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาผลิตภาพ แรงงาน ยกระดับคุณภาพแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ การพัฒนาสินค้าหนึ่งต� ำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอท็อป) การเพิ่มขีดความสามารถและสร้างแรงจูงใจให้เอสเอ็มอี การส่งเสริมผู้ประกอบการให้เข้มแข็ง สู่เศรษฐกิจดิจิทัล การปรับโครงสร้างภาคอุตสาหกรรมและบริการ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=