สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
203 ปฐมาภรณ์ บุษปธ� ำรง วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ๔. ให้การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมขององค์การ สวัสดิการสังคม นักสังคมสงเคราะห์ และอาสาสมัคร ตามระเบียบที่คณะกรรมการก� ำหนด ตลอดจน ด� ำเนินการและสนับสนุนให้มีการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน รวมทั้งด� ำเนินการเพื่อให้มีการพัฒนา มาตรฐานดังกล่าวให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ๕. จัดท� ำทะเบียนกลางเกี่ยวกับองค์การสวัสดิการสังคม นักสังคมสงเคราะห์ อาสา สมัคร และผู้รับบริการสวัสดิการสังคม รวมทั้งก� ำกับ ดูแล และตรวจสอบการด� ำเนินงานขององค์กร สาธารณประโยชน์และองค์กรสวัสดิการชุมชน ๖. ส่งเสริมและสนับสนุนองค์ความรู้ด้านวิชาการสวัสดิการสังคมและการพัฒนา นักสังคมสงเคราะห์ อาสาสมัคร และหน่วยงาน ๗. บริหารจัดการกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม เงินอุดหนุนองค์การสวัสดิการ สังคมภาคเอกชน และการระดมทุน ๘. รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม คณะกรรมการติดตามประเมินผลกองทุน ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม และคณะอนุกรรมการซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้ง ๙. ร่วมมือ ประสานงาน และสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือ ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ ๑๐. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายโดยมีโครงสร้างภายในส� ำนักงานคณะ กรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ ประกอบด้วย (๑) ฝ่ายบริหารทั่วไป (๒) กลุ่มมาตรการและกลไก (๓) กลุ่มส่งเสริมและประสานงาน (๔) กลุ่มพัฒนาและรับรองมาตรฐาน (๕) กลุ่มบริหารกองทุน กรณีการจัดสวัสดิการสังคมในภาครัฐมีหน่วยงานและฝ่ายบริหารมารองรับ ตลอดจน มีกลไกในการจัดสวัสดิการสังคมในกรณีของภาคธุรกิจ ดังที่จะเสนอในล� ำดับต่อไป เป็นการจัดสวัสดิการ โดยบริษัทเอกชน ซึ่งน� ำเสนอเป็นกรณีศึกษาดังนี้ ๔.๒ กรณีศึกษาในภาคธุรกิจ ในภาคธุรกิจ สวัสดิการสังคมโดยภาครัฐได้ก� ำหนดกรอบพื้นฐานภายใต้พระราชบัญญัติ ประกันสังคม ทั้งนี้ สถานประกอบการมีทางเลือกส� ำหรับสถานประกอบกิจการจัดให้แก่พนักงาน แบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ ๆ ดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=