สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
พระมหากรุณาธิ คุณด้านการบริ หารราชการแผ่นดิ นใน “ระบบราชการ” ของพระมหากษั ตริ ย์ แห่งพระบรมราชจั กรี วงศ์ 14 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 วัฒนธรรม แต่ก็มีความรักชาติ มีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดิน เป็นคนดีมีคุณธรรมตามหลักศาสนา ของตน และมีความสามัคคีในหมู่คณะเหมือนกัน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติขณะที่ประเทศสยามต้อง ประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต�่ ำและเมื่อครองราชย์ได้ระยะหนึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดย คณะราษฎร พระองค์ได้ทรงใช้พระปรีชาญาณและพระราชวิสัยทัศน์แก้ไขสถานการณ์ ทรงเป็นนักปกครอง ที่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นทรงแต่งตั้งอภิรัฐมนตรีสภาเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ต่อมาทรงตั้ง กรรมการองคมนตรีสภา องค์การดังกล่าวนี้ได้ช่วยพิจารณาและแสดงความคิดเห็นตลอดจนข้อเสนอแนะ ต่อปัญหาต่าง ๆ ตามที่ทรงขอให้ช่วยพิจารณา จากพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจโดยทั่วไป จะเห็นได้ว่าทรงมีพระราชด� ำริและ พระราชประสงค์ที่จะมอบอ� ำนาจการปกครองให้แก่ประชาชนในรัชกาลของพระองค์ ทรงเตรียมการ พระราชทานรัฐธรรมนูญเพื่อน� ำไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยทรงถือเอาประโยชน์สุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง ทรงตระหนักในพระราชภาระหน้าที่ของพระองค์ใน การท� ำนุบ� ำรุงประเทศชาติเป็นส� ำคัญ แม้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงด� ำรงอยู่ในสิริราชสมบัติ เป็นเวลาเพียง ๙ ปี แต่ตลอดรัชสมัยได้ทรงริเริ่มสิ่งใหม่ในด้านต่าง ๆ หลายประการ ทั้งด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะการวางรากฐานระบบข้าราชการพลเรือนไทยในยุคปัจจุบัน อัน มีที่มาจากแนวพระราชด� ำริ ๔ ประการคือ ๑) ให้ข้าราชการพลเรือนอยู่ในระเบียบเดียวกัน ๒) ให้เลือกสรร ผู้มีความรู้ความสามารถเข้ารับราชการ ๓) ให้ข้าราชการพลเรือนยึดถือการเข้ารับราชการเป็นอาชีพ และ ๔) ให้ข้าราชการพลเรือนมีวินัย ซึ่งจากแนวพระราชด� ำริดังกล่าวได้มีการร่างกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือนขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ และประกาศเป็นพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. ๒๔๗๑ เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑ ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๑ ในปัจจุบันนี้แม้ว่าจะได้มีการปรับปรุงแก้ไข เปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือนให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองมาโดยตลอด แต่กฎหมายดังกล่าว ทุกฉบับก็ยังคงยึดหลักการระบบคุณธรรมตามรากฐานที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มขึ้น อนึ่ง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาราชบัณฑิตย- สภาขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๙ ซึ่งได้มีบทบาททางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ วรรณคดี และโบราณคดี ต่อมา ราชบัณฑิตยสภาแยกออกเป็น ๒ หน่วยงาน คือ ส� ำนักงานราชบัณฑิตยสภา และกรมศิลปากร ในปัจจุบัน ส� ำนักงานราชบัณฑิตยสภาเป็นสถาบันทางวิชาการที่เป็นแหล่งรวมนักปราชญ์ราชบัณฑิตผู้ทรงความรู้ ในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่ครอบคลุมทั้ง วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรม เป็นศูนย์กลาง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=