สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

201 ปฐมาภรณ์ บุษปธ� ำรง วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ รายมาก จึงส่งผลให้รูปแบบการจัดสวัสดิการวิธีการอื่น ๆ มีความส� ำคัญน้อยกว่าแนวคิดการจัดสวัสดิการ สังคมในลักษณะนี้ จึงต้องใช้ทั้งระดับจุลภาคร่วมกับระดับมหภาค ปัจจุบัน การจัดสวัสดิการฯ จึงต้องมีการพัฒนาหลาย ๆ วิธีการทางสังคมสงเคราะห์ เน้นการบูรณาการร่วมกัน โดยเฉพาะการกระท� ำทางสังคม (Social Action) เช่น การรณรงค์ การผลักดัน การต่อรองกับกลไกต่าง ๆ ทางสังคม เพื่อให้เกิดรูปแบบสวัสดิการใหม่ ๆ ขึ้น (Hamilton, 2015 : 25-29) ๓.๔ แนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมในลักษณะของความเคลื่อนไหวทางสังคม การจัดสวัสดิการสังคมในลักษณะนี้เป็นการสร้างกระแสใหม่ กระแสทางเลือกของ สังคมต่อการจัดสวัสดิการที่เชื่อมโยงกับประเด็นปัญหาส� ำคัญของสังคมที่เชื่อว่าต้องเสริมสร้างพลังอ� ำนาจ (Empowerment) ให้กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ รู้จักการปกป้องคุ้มครองสิทธิของตนเอง การเมือง และ สังคมวัฒนธรรม การเคลื่อนไหวทางสังคมก็เพื่อสร้างความตระหนักของคนในสังคมสร้างความรับผิดชอบ ทางสังคมร่วมกันด้านสวัสดิการสังคม เช่น การใช้เครือข่าย การใช้องค์กรชุมชนเคลื่อนไหวต่อรองกับ อ� ำนาจรัฐ รูปแบบนี้เชื่อว่าจ� ำเป็นต้องก� ำหนดแผนยุทธศาสตร์ เป้าหมาย กลไกการท� ำงาน เพื่อให้เกิด การขับเคลื่อนไปในทิศทางที่เหมาะสม (Greenwood, 2015 : 25) ๓.๕ แนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมโดยสถาบัน การจัดสวัสดิการสังคมโดยสถาบันเป็นการจัดสวัสดิการที่รัฐเชื่อว่า รัฐควรแทรกแซง การจัดสวัสดิการให้แก่ประชาชน โดยใช้โครงสร้างอ� ำนาจของรัฐท� ำหน้าที่จัดระบบสวัสดิการสังคมใน ลักษณะต่าง ๆ เช่น สวัสดิการภาคบังคับ เป็นการจัดผ่านกลไกทางสังคมภายใต้กฎหมายด้านสังคม เช่น บริการประกันสังคม บริการการศึกษาภาคบังคับ บริการประกันสุขภาพ บริการสถานสงเคราะห์ต่าง ๆ แต่เนื่องจากบริการดังกล่าวไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของคนทุกคนในสังคมได้ จึง ท� ำให้เกิดรูปแบบการจัดบริการสวัสดิการที่ลดการพึ่งพาสถาบันของรัฐลง (Deinstitutional-based) บริการในลักษณะนี้จะเกิดขึ้นจากภาคส่วนของชุมชน ประชาชนที่มีศักยภาพ ความเข้มแข็ง เข้ามามี ส่วนร่วมในการจัดบริการเฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ชุมชน บริการ ลักษณะนี้มีความเชื่อที่ว่า รัฐควรลดบทบาทการแทรกแซงการจัดสวัสดิการลง แต่ปล่อยให้กลไกของชุมชน ประชาชนท� ำหน้าที่จัดสวัสดิการสังคมแทนรัฐ (ส� ำราญ ปราณนพ : ๒๕๕๗ : ๑๕-๒๓) ๓.๖ แนวคิดสวัสดิการพื้นถิ่น แนวคิดสวัสดิการพื้นถิ่น หมายถึง การสร้างหลักประกันผ่านช่องทางของวัฒนธรรม ให้แก่คนในชุมชน เป็นสวัสดิการที่เกิดขึ้นจากฐานคิดด้านประเพณี ด้านวัฒนธรรมเฉพาะถิ่น ด้าน ภูมิปัญญาชาวบ้าน ด้านศาสนา ด้านจิตวิญญาณ ด้านอื่น ๆ เช่น กองบุญข้าว กองทุนซากาดในศาสนา อิสลาม (ส� ำราญ ปราณนพ : ๒๕๕๗ : ๑๕-๒๓)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=