สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
สวั สดิ การสั งคม : แนวคิ ดและการประยุกต์ในสั งคมไทย 200 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 กลไกการจัดสวัสดิการสังคม หมายถึง กลไกที่ท� ำให้การจัดสวัสดิการสังคมเกิดขึ้น ได้แก่ กลไกของนโยบาย กลไกการบริหารจัดการ และกลไกการด� ำเนินงาน ซึ่งการจัดสวัสดิการสังคมจะบรรลุ วัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับการใช้กลไกการท� ำงานทั้ง ๓ ส่วนไปพร้อม ๆ กัน • จุดแข็ง หมายถึง จุดเด่น จุดเข้มแข็ง หรือข้อดีที่ท� ำให้การจัดสวัสดิการสังคมบรรลุ วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ • จุดอ่อน หมายถึง ข้ออ่อนหรือข้อเสียที่ท� ำให้การจัดสวัสดิการสังคมเกิดปัญหาอุปสรรค และ ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้ บทความนี้สรุปแนวคิดสวัสดิการสังคมดังนี้ ๓.๑ แนวคิดสวัสดิการสังคมกระแสหลักและแนวคิดสวัสดิการสังคมกระเเสรอง สวัสดิการสังคมกระแสหลัก หมายถึง สวัสดิการโดยรัฐ เป็นการจัดสวัสดิการภาคบังคับ ของรัฐที่จัดให้แก่ประชาชน โดยค� ำนึงถึงความครอบคลุม ทั่วถึง เป็นธรรม ครบถ้วน รูปแบบที่จัดให้ เช่น การจัดบริการในรูปแบบของสถาบันการจัดบริการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดสวัสดิการ กระแสหลักนี้ส่วนใหญ่เป็นการจัดโดยผ่านกลไกระบบการเงินการคลัง ระบบภาษีของรัฐ และโครงสร้าง การบริหารงานของ องค์กรเป็นหลัก เช่น รูปแบบสวัสดิการพื้นฐาน (ภาคบังคับ) รูปแบบสวัสดิการ ท้องถิ่น (อานนท์ พรพรหม, ๒๕๕๗ : ๑๕-๒๓) สวัสดิการสังคมกระแสรอง หมายถึง สวัสดิการทางเลือกที่เกิดขึ้นจากศักยภาพ ความเข้มแข็งของภาคชุมชน ภาคประชาชน และภาคพื้นถิ่น สวัสดิการในรูปแบบนี้เกิดขึ้นจากความสนใจ ความสมัครใจร่วมกันของกลุ่มเป้าหมายเป็นรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ เช่น การให้ความช่วยเหลือเกื้อกูล (อานนท์ พรพรหม, ๒๕๕๗ : ๑๕-๒๓) ๓.๒ แนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมตามพื้นที่ การจัดสวัสดิการสังคมโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน โดยทั่วไปเป็นการจัดตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ พื้นที่การปกครองประเทศ เช่น ภาค จังหวัด อ� ำเภอ ท้องถิ่น ต� ำบล รูปแบบการจัดสวัสดิการลักษณะนี้ หน่วยงานในพื้นที่จะต้องมาร่วมกันจัดบริการตามภารกิจหน้าที่ขององค์กรสวัสดิการสังคม เพื่อให้เกิดความ ครอบคลุม ทั่วถึง เป็นธรรม และมีมาตรฐานที่ดีด้านคุณภาพบริการ (Donaldson, 2015 : 135) ๓.๓. แนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมตามวิธีการ แนวคิดนี้ให้ความส� ำคัญกับวิธีการให้บริการทางสังคมสงเคราะห์ระดับจุลภาค เช่น เฉพาะราย กลุ่มชน ชุมชน ซึ่งถือเป็นรูปแบบการจัดบริการโดยตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ขณะที่การให้ บริการโดยทางอ้อมระดับมหภาค เช่น การบริหารงานองค์กร การวิจัย ก็เป็นการสนับสนุนให้เกิด แนวคิดการจัดสวัสดิการใหม่ ๆ ขึ้น แต่โดยทั่วไปรูปแบบการจัดสวัสดิการจะเน้นที่การให้บริการเฉพาะ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=