สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
199 ปฐมาภรณ์ บุษปธ� ำรง วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ สถานที่ท� ำงานและโรงงานกลายเป็นศูนย์กลางในการด� ำเนินวิถีชีวิตประจ� ำวัน ไม่ใช่ชุมชนและหมู่บ้าน เกษตรกรรมเหมือนสมัยก่อนสังคมอุตสาหกรรม ทั้งนี้ได้ก่อให้เกิดปัญหาการขยายตัวของเมือง ความแออัดของประชากรในเมือง ความห่างเหินแปลกแยกของสมาชิกครอบครัว ความขัดแย้งระหว่าง นายจ้างลูกจ้าง การว่างงาน การถูกปลดออกจากงาน อุบัติเหตุ และโรคภัยจากการท� ำงาน ซึ่งปัญหา เหล่านี้เป็นการบั่นทอนต่อการเพิ่มผลผลิต และเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและการด� ำรงชีพของ ก� ำลังแรงงาน และเนื่องจากรัฐในสังคมอุตสาหกรรมมีแนวคิดว่าก� ำลังแรงงานเป็นปัจจัยการผลิตหลัก ของชาติ จึงจ� ำเป็นที่ “รัฐ” จะต้องดูแลและพัฒนาให้ก� ำลังแรงงานเหล่านี้มีศักยภาพในการผลิตและ มีโครงการที่จะสร้างผลผลิตให้แก่สังคมได้ ถ้าก� ำลังแรงงานนี้ไม่สามารถท� ำงานได้ รัฐก็จ� ำเป็น ต้องดูแลให้สามารถด� ำรงชีวิตอยู่ได้ โดยบรรเทาไม่ให้เป็นปัญหาต่อสังคม รัฐจึงจ� ำเป็นต้องจัดระบบ การให้บริการและการดูแลปัญหาดังกล่าวของก� ำลังแรงงานในประเทศ ในเยอรมนีเรียกนโยบายการแก้ไข ปัญหาเหล่านี้ว่า นโยบายสวัสดิการสังคม (social welfare policy) ซึ่งปรากฏอยู่ใน Social Welfare Laws of the Federal Republic ครอบคลุมด้านต่าง ๆ โดยสรุปดังนี้ (๑) การศึกษาและฝึกอบรม ซึ่งรัฐบาลได้จัดงบประมาณและสิ่งอ� ำนวยความสะดวก สนับสนุน การศึกษาและการฝึกอบรมนักเรียน นักศึกษา เพื่อให้เป็นก� ำลังแรงงานที่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึง การศึกษาและการฝึกอบรมก� ำลังแรงงานที่ก� ำลังท� ำงานอยู่ในสาขาการผลิตต่าง ๆ ด้วย (๒) การส่งเสริมการมีงานท� ำ ซึ่งได้ออกเป็นรัฐบัญญัติการส่งเสริมแรงงาน (Labour Promotion Act 1969) เพื่อประกันให้ทุกคนมีงานท� ำหรือรักษาภาวการณ์มีงานท� ำให้สูงสุด (๓) การให้ความคุ้มครองแรงงานและสุขภาพอนามัย เพื่อให้ก� ำลังแรงงานมีความปลอดภัยใน ที่ท� ำงาน คุ้มครองมิให้มีการกดขี่เด็กและสตรี คุ้มครองแรงงานที่ท� ำงานในครัวเรือน (๔) การประกันสังคม ซึ่งครอบคลุมการประกันสุขภาพ อุบัติเหตุ ชราภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์ บุตร การเสียชีวิต ทุพพลภาพ และการว่างงาน ทั้งหมดนี้รวมกันเรียกว่า โครงการ “ความมั่นคงทางสังคม” ซึ่งในโลกตะวันตก ประเทศเยอรมนีได้ชื่อว่าเป็นประเทศแรกที่ได้จัดให้มีการประกันสังคม โดยเริ่มจาก การประกันสุขภาพ ใน ค.ศ. ๑๘๘๓ เป็นที่ยอมรับกันว่าพระราชบัญญัตินี้เป็นการพัฒนาสวัสดิการสังคม โดยรัฐอย่างเป็นระบบเป็นครั้งแรกในประเทศอุตสาหกรรม ๓. แนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม ในที่นี้ แนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม ครอบคลุมถึงการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการ จัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสม เป็นธรรม ทั่วถึง เท่าเทียม มีมาตรฐาน เป็นรูปแบบที่มีความหลากหลาย เป็นสวัสดิการแบบทางเลือกให้แก่กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ในสังคม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=