สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
สวั สดิ การสั งคม : แนวคิ ดและการประยุกต์ในสั งคมไทย 198 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ๓ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน คนไทยอยู่ร่วมกัน อย่างสันติสุข และพร้อมเชิญกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเป็นสุข ๔ เป้าหมายหลัก ได้แก่ เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งสมดุล ความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น มีหลักประกันสังคมที่ทั่วถึง และสังคมไทยมีความสุขอย่างมีธรรมาภิบาล ๗ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การสร้างฐานการผลิตให้เข้มแข็ง สมดุล อย่างสร้างสรรค์ การสร้าง สภาพแวดล้อมที่เอื้ออ� ำนวยต่อการผลิต การค้า การลงทุน การพัฒนาคุณภาพคน ทั้งความรู้คู่คุณธรรม สังคมมั่นคงเป็นธรรมและประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยสรุป ความหมายและขอบเขตของสวัสดิการสังคมในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติมีความสอดคล้องกับความหมายของสวัสดิการสังคมในระดับสากล กล่าวคือ ๑) เพื่อตอบสนอง ความจ� ำเป็นขั้นพื้นฐานของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้อย่างทั่วถึงเหมาะสม ๒) เพื่อ ป้องกันและแก้ไขปัญหาทางสังคมและพัฒนาสังคม ๓) ส่งเสริมความมั่นคงทางสังคม เพื่อให้ประชาชน สามารถด� ำรงชีวิตได้ในระดับมาตรฐาน ๔) ครอบคลุมทั้งในด้านการมีศึกษาที่ดี การมีสุขภาพอนามัย การมีที่อยู่อาศัย การมีงานท� ำ การมีรายได้ นันทนาการ และความจ� ำเป็นพื้นฐาน ๕) ค� ำนึงถึงศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์และสิทธิที่ประชาชนต้องได้รับและเข้ามามีส่วนร่วมในระบบการจัดบริการสังคม ในทุกระดับ และ ๖) เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว การศึกษาความหมายของสวัสดิการสังคมอาจสรุปว่า ในปัจจุบันการจัดสวัสดิการสังคมใน ภาครัฐแบ่งได้เป็น ๓ ประเภท ได้แก่ (๑) บริการประกันสังคม (๒) การสงเคราะห์แบบให้เปล่า (๓) บริการสังคม การจัดสวัสดิการสังคมจะต้องอาศัยสถาบันทางสังคม โครงสร้างสังคมที่มีอยู่จริง เช่น ครอบครัว โบสถ์ วัด ชุมชน เผ่า รัฐ สหภาพแรงงาน ซึ่งเป็นสถาบันทางสังคมที่มีอยู่จริง มักท� ำหน้าที่ให้การช่วยเหลือ กลุ่มที่เดือดร้อนและจ� ำเป็นอยู่แล้ว หากสถาบันสังคมเหล่านี้สามารถท� ำหน้าที่ในการสร้างสวัสดิการ ที่ดีให้แก่สมาชิกของตนเอง ก็จะน� ำไปสู่การมี “สังคมสวัสดิการ” (Welfare Society) ซึ่งเป็นสังคมที่มี การจัดระเบียบทางสังคม โดยใช้สถาบันทางสังคมต่าง ๆ ในสังคมให้ท� ำหน้าที่ส่งเสริมความเป็นอยู่ของ คนในสังคมที่ดี ความเป็นมาของสวัสดิการสังคม สวัสดิการสังคมในต่างประเทศ สวัสดิการสังคมได้รับ การพัฒนาเนื่องจากกระบวนการผลิตแบบอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนแบบแผนการใช้ชีวิตของประชาชน จากสังคมครอบครัว เครือญาติ และชุมชน มาเป็นสังคมที่เน้นระบบการท� ำงานในภาคอุตสาหกรรม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=