สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

197 ปฐมาภรณ์ บุษปธ� ำรง วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นมาก อันเนื่องมาจากการด� ำเนินการเสริมสร้างสุขภาพอนามัย การ มีหลักประกันสุขภาพที่มีการปรับปรุงทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ โดยครอบคลุมคนส่วนใหญ่ของประเทศ และการลดลงของปัญหายาเสพติด วัตถุประสงค์ (๑) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกัน (๒) เพื่อวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง ยั่งยืน สามารถพึ่งตนเองได้อย่างรู้ เท่าทันโลก (๓) เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทยทุกระดับ (๔) เพื่อแก้ปัญหาความยากจน เพิ่มศักยภาพและโอกาสของคนไทยในการพึ่งพาตนเอง ล� ำดับความส� ำคัญของการพัฒนา (๑) การเร่งฟื้ นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้ นตัว อย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ (๒) การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก (๓) การบรรเทาปัญหาสังคม (๔) การแก้ปัญหาความยากจน ฉบับที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๔ – ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่ส� ำคัญในหลายบริบท ทั้งที่เป็นโอกาส และข้อจ� ำกัดต่อการพัฒนาประเทศ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมของคนและระบบให้มีภูมิคุ้มกัน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยยังคงอัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจาก แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ และให้ความส� ำคัญต่อการรวมพลังสังคมจากทุก ภาคส่วนให้มีส่วนร่วมด� ำเนินการในทุกขั้นตอนของแผนฯ พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ การพัฒนาสู่การปฏิบัติ รวมทั้งการติดตามตรวจสอบผลการด� ำเนินงานตามแผนอย่างต่อเนื่อง ฉบับที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙ – ตามวิสัยทัศน์ ๓ พันธกิจ ๓ วัตถุประสงค์ ๔ เป้าหมายหลัก และ ๗ ยุทธศาสตร์ ตาม การศึกษาจากบริบทตลอดจนจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภัยคุกคามของประเทศไทย วิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคงเป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง” ๓ พันธกิจ ได้แก่ การพัฒนาฐานการผลิตและบริการ การสร้างความเป็นธรรมและลด ความเหลื่อมล�้ ำทางเศรษฐกิจ สังคม และสร้างภูมิคุ้มกันจากวิกฤตการณ์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=