สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
สวั สดิ การสั งคม : แนวคิ ดและการประยุกต์ในสั งคมไทย 196 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ฉบับที่ ๘ พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๔๔ เป็นจุดเปลี่ยนส� ำคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศที่ให้ความส� ำคัญกับการมีส่วนร่วมของ ทุกภาคส่วนในสังคม และมุ่งให้ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” และใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือช่วย พัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนาแบบแยกส่วนมาเป็น บูรณาการแบบองค์รวม เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างไร ก็ตาม ในปีแรกของแผนฯ ประเทศไทยต้องประสบวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุนแรง และส่งผลกระทบต่อคน และสังคมเป็นอย่างมาก จึงต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพมั่นคง และลดผลกระทบจากวิกฤติ ที่ก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานและความยากจนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว – การพัฒนาศักยภาพของคน – การพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาคน – การเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาของภูมิภาคและชนบทเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของ ประชาชนอย่างทั่วถึง – การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคนและคุณภาพชีวิต – การจัดหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม – การพัฒนาประชารัฐ เป็นการพัฒนาภาครัฐให้มีสมรรถนะ และพันธกิจหลักในการเสริมสร้าง ศักยภาพและสมรรถนะของคนและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ – การบริหารจัดการเพื่อให้มีการน� ำแผนพัฒนาฯ ไปด� ำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติด้วย แนวทางการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ ฉบับที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๔๙ – เป็นแผนที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชด� ำรัสของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นปรัชญาน� ำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ ได้อัญเชิญ “ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญาน� ำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศควบคู่ไปกับกระบวนทรรศน์การ พัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ โดยยึดหลักทางสายกลาง เพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤติ สามารถด� ำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และน� ำไปสู่ การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพ และยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และสถานการณ์เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยให้ความส� ำคัญต่อการพัฒนาที่สมดุลทั้งด้านตัวคน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อน� ำไปสู่ การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย ผลการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ สรุปได้ว่า ประสบความส� ำเร็จที่น่าพอใจ เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ย ร้อยละ ๕.๗ ต่อปี เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ปรับตัวสู่ความมั่นคง ความยากจนลดลง ขณะเดียวกัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=