สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
195 ปฐมาภรณ์ บุษปธ� ำรง วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ – เน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศเป็นพิเศษโดยการเร่งระดม เงินออม สร้างวินัยทางเศรษฐกิจ การเงิน และการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น ปรับโครงสร้าง การเกษตร ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกและกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ส่วนภูมิภาค ปรับ โครงสร้างการค้าต่างประเทศและบริการ ปรับโครงสร้างการผลิตและการใช้พลังงาน – เน้นความสมดุลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ – เน้นการแก้ปัญหาความยากจนในชนบทล้าหลัง ก� ำหนดพื้นที่เป้าหมาย ๒๘๖ อ� ำเภอและ กิ่งอ� ำเภอ – เน้นการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ เช่น มีระบบการบริหารการ พัฒนาชนบทแนวใหม่ประกาศ ใช้ พ.ศ. ๒๕๒๗ – เน้นบทบาทและการระดมความร่วมมือจากภาคเอกชน ฉบับที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๓๔ – เน้นการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจควบคู่ ไปกับการรักษาเสถียรภาพของการเงิน การคลัง โดยเน้นการระดมเงินออมในประเทศ เน้นการใช้จ่ายภาครัฐอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ และเน้นบทบาทภาคเอกชนในการพัฒนา – เน้นการพัฒนาฝีมือแรงงานและคุณภาพชีวิต – เน้นการเพิ่มบทบาทองค์กรประชาชนในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม – เริ่มแผนหลักการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี – ทบทวนบทบาทรัฐในการพัฒนาประเทศ – มีแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ – มุ่งปรับโครงสร้างการผลิตและการตลาดของประเทศให้กระจายตัวมากขึ้น – เน้นการน� ำบริการพื้นฐานที่มีอยู่แล้วมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ – พัฒนาเมืองและพื้นที่เฉพาะ กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค – ขยายขอบเขตพัฒนาชนบทครอบคลุมทั่วประเทศ เขตล้าหลัง ๕,๗๘๗ หมู่บ้าน เขตปานกลาง ๓๕,๕๑๔ หมู่บ้าน และเขตก้าวหน้า ๑๑,๖๑๒ หมู่บ้าน ฉบับที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕-๒๕๓๙ – เน้นการรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ – เน้นการกระจายรายได้และการพัฒนาไปสู่ภูมิภาคและชนบท – เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม – เน้นการพัฒนากฎหมาย รัฐวิสาหกิจ และระบบราชการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=