สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ปิยนาถ บุนนาค 13 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ เป็นการน� ำเศรษฐกิจสู่มาตรฐานสากลด้วย ส่วนในด้านศิลปวัฒนธรรม ทรงท� ำนุบ� ำรุงด้านศิลปะให้มีลักษณะ เฉพาะเป็นการผสมผสานกับศิลปะแบบตะวันตก และด้านวัฒนธรรม มีพระราชด� ำริที่จะปรับปรุงกิจการ ทางฝ่ายศาสนจักร พระราชกรณียกิจที่ส� ำคัญทางด้านศาสนาคือ การช� ำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎก การตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ และการจัดตั้งสถานศึกษาของคณะสงฆ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงได้รับ การศึกษาในประเทศอังกฤษตั้งแต่ระดับต้นจนถึงระดับอุดมศึกษา ทั้งด้านการทหารและด้านการพลเรือน ทั้งภาคทฤษฎีและการปฏิบัติ รวมทั้งการทอดพระเนตรกิจการต่าง ๆ ซึ่งทรงน� ำมาใช้เป็นประโยชน์ในการ บริหารราชการแผ่นดินในเวลาต่อมา เมื่อครั้งที่ประทับอยู่ในต่างประเทศนั้น สมเด็จพระบรมชนกนาถทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระอภิบาลชาวสยามเป็นผู้ถวายพระอักษรพิเศษโดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องของ สยามควบคู่ไปด้วย ดังนั้น พระองค์จึงเข้าพระราชหฤทัยความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมตะวันตกกับ ตะวันออก ทั้งยังตระหนักว่าการเสด็จพระราชด� ำเนินไปทรงศึกษาในยุโรปนั้นเป็นการแสวงหาความรู้ ความเข้าใจเรื่องราวและแนวความคิดของชาติตะวันตก ที่ไม่อาจน� ำมาใช้กับประเทศสยามและชาวสยาม ได้โดยทันที แต่ต้องประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมแก่ประเทศสยามและชาวสยามตามสถานการณ์อันสมควร เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระปรีชาสามารถทางด้านอักษรศาสตร์ ได้รจนาบทประพันธ์นานาประเภทเป็นจ� ำนวนมาก ดังพระราชสมัญญา “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” แต่มิได้ทรงเป็นเพียงปราชญ์ทางด้านอักษรศาสตร์เท่านั้น พระองค์ยังเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีความ สุขุมคัมภีรภาพ มีพระราชวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล จึงทรงวางแผนบริหารประเทศในลักษณะ “การตั้งรับ และป้องกัน” ปัญหาของสยามประเทศที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การป้องกันตนเองของพลเรือน การวางระบบให้การศึกษาแก่ราษฎรทั้งประเทศ เพื่อให้เป็นพื้นฐานส� ำคัญในการปกครองตนเองตามระบอบ ประชาธิปไตยในวันข้างหน้า การตั้งสภาเผยแผ่พาณิชย์และศาลาแยกธาตุเพื่อประโยชน์ในการพัฒนา เศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยึดแนวทางการบริหารราชการแผ่นดินของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระอัยกาธิราช และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถ ดังนั้น การปฏิรูปประเทศและระบบราชการในรัชสมัยนี้จึงเป็นการสาน ต่อพระราชด� ำริ พระราชกรณียกิจที่สมเด็จพระอัยกาธิราช และสมเด็จพระบรมชนกนาถได้ทรงวางรากฐาน และด� ำเนินการไว้แล้ว แต่ได้มีการปรับปรุงกิจการต่าง ๆ ให้เหมาะสมตามกาลสมัยยิ่งขึ้นทั้งเรื่องการจัด ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของราษฎรที่ส� ำคัญคือ การปลูก ฝังความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของราษฎร ที่แม้จะมีความแตกต่างกันทางด้านเผ่าพันธุ์ ศาสนา และ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=