สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
สวั สดิ การสั งคม : แนวคิ ดและการประยุกต์ในสั งคมไทย 192 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ภัยพิบัติ โดยครอบคลุมวงจรชีวิตการเกิด แก่ เจ็บ ตาย การช่วยเหลือเกื้อกูลในระบบค่านิยมทางสังคม และวัฒนธรรม ระบบค่านิยมในครอบครัว (ประมวล น้อมจิต, ๒๕๕๗ : ๑๒) ความหมายของสวัสดิการสังคมในข้อ ๒.๑ และ ๒.๒ มีความคล้ายคลึงกันที่เป็น การมุ่งเน้นคุณภาพชีวิตของประชาชนในด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษา การสุขภาพอนามัย มีความแตกต่างกัน ที่ความหมายแรกมีความครอบคลุมถึงการจัดการประกันสังคม การสงเคราะห์แบบให้เปล่า และการจัด บริการทางสังคม ความหมายที่ ๒ ครอบคลุมระบบความค่านิยมทางสังคมและวัฒนธรรม หากน� ำความหมายทั้งสองมาสรุปสวัสดิการสังคมเป็นแนวทางอันประกอบด้วยกิจกรรม และหลักการในสังคม โดยมีการพัฒนาและสร้างกฎเกณฑ์ในการใช้แทรกแซง สนับสนุน และส่งเสริม ในระดับปัจเจกชน กลุ่ม ชุมชน และสถาบันทางสังคม โดยหลักการและกิจกรรมมุ่งเน้นที่คุณภาพชีวิต ของประชาชน มีความเชื่อมโยงกับคุณค่า ค่านิยม ขนบธรรมเนียม และประเพณีของสังคม ทั้งนี้ มีการ จัดสรรทรัพยากรทางสังคม ดังนั้น สวัสดิการสังคมจึงรวมถึงแผนงานด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย การแก้ไขและป้องกันปัญหาอาชญากรรม ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงทางสังคม ซึ่งด� ำเนิน การโดยรัฐ และองค์การเอกชน ๒.๓ สวัสดิการสังคมตามที่ก� ำหนดในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หากศึกษาความหมายของสวัสดิการสังคมโดยอ้างอิงจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติจากอดีตถึงปัจจุบัน กล่าวโดยย่อสรุปสาระส� ำคัญของแผนพัฒนาฯ และความหมายในภาพรวม อาจสรุปได้ดังนี้ (๑) ในภาพรวมซึ่งได้รวมความคิดที่เกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐและเอกชน มีข้อสรุป ความหมายที่ครอบคลุม ดังนี้ สวัสดิการสังคม หมายถึง ระบบการจัดบริการสังคมเพื่อตอบสนองความ จ� ำเป็นขั้นพื้นฐานของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้อย่างทั่วถึง ทั้งนี้เพื่อป้องกันและ แก้ไขปัญหาทางสังคมและพัฒนาสังคม รวมทั้งการส่งเสริมความมั่นคงทางสังคม เพื่อให้ประชาชนสามารถ ด� ำรงชีวิตได้ในระดับมาตรฐาน โดยบริการดังกล่าวต้องตอบสนองความต้องการพื้นฐานของประชาชน ให้ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ทั้งการมีการศึกษาที่ดี การมีสุขภาพอนามัย การมีที่อยู่อาศัย การมีงานท� ำ การมีรายได้ การมีสวัสดิการสังคม การมีความมั่นคงทางสังคม นันทนาการ และบริการสังคมทั่วไป โดยระบบบริการสังคมต้องค� ำนึงถึงศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ และสิทธิที่ประชาชน ต้องได้รับและการมีส่วนร่วมในระบบการจัดบริการสังคมในทุกระดับ ทั้งนี้ ระบบการจัดบริการสังคมที่จัด ขึ้นโดยภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคม ได้แก่ ภาครัฐ ภาคองค์กรพัฒนาเอกชน ภาคองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=