สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
191 ปฐมาภรณ์ บุษปธ� ำรง วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ นอกจากนั้นยังมีความเสี่ยงอันเกิดจากการเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจ เช่น การเจ็บป่วย ด้วยโรคระบาด อุบัติภัย สาธารณภัย และความเสี่ยงอันเป็นผลมาจากสภาพทางเศรษฐกิจ ความไม่ แน่นอนจากการประกอบอาชีพ ความผันผวนของกระแสเศรษฐกิจ และสาเหตุอื่น ๆ ในสภาวะ เจ็บป่วย ตกทุกข์ได้ยาก และช่วยตัวเองไม่ได้ จ� ำเป็นต้องได้รับความอนุเคราะห์และช่วยเหลือจาก ผู้อื่น หรือจากองค์กรสาธารณะเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะช่วยตัวเองได้ แต่ถ้าเป็นผู้สูงอายุ ผู้ด้อย โอกาส คนพิการ ผู้ติดเชื้อเอดส์ และผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างถาวร ก็ต้องมีองค์กร สาธารณะเข้าไปท� ำหน้าที่ให้การสงเคราะห์อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง องค์กรสาธารณะที่ท� ำหน้าที่ จัดให้มีระบบสวัสดิการสังคมแก่ประชาชนทั่วไปอาจมีได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่กลุ่มองค์กรประชาชน มูลนิธิ สมาคม ชมรมต่าง ๆ ไปจนถึงภาคธุรกิจ การจัดระบบการประกันภัยประกันชีวิต บทบาทของ ภาครัฐบาลในการจัดให้มีระบบสวัสดิการสังคมแก่ประชาชน ๒. ความหมายของสวัสดิการสังคม ความหมายของสวัสดิการสังคมมีความหลากหลายครอบคลุมการจัดสวัสดิการสังคมในภาครัฐ และชุมชน ในที่นี้ขอสรุปความหมายของสวัสดิการสังคมเป็น ๓ ประเด็น ดังนี้ ๒.๑ สวัสดิการสังคมในฐานะที่เป็นระบบการให้ความคุ้มครองทางสังคม “สวัสดิการสังคม” คือ ระบบการให้ความคุ้มครองทางสังคมแก่ประชาชนซึ่งรวมถึง การจัดการประกันสังคม การสงเคราะห์แบบให้เปล่า และการจัดบริการทางสังคมเกี่ยวกับการป้องกัน การแก้ไขปัญหา การพัฒนา และการส่งเสริมความมั่นคงทางสังคม ตอบสนองความจ� ำเป็นขั้นพื้นฐานของ ประชาชน มีคุณภาพชีวิต และพึ่งตนเองได้ทั่วถึง เหมาะสม เป็นธรรม ตามมาตรฐานทั้งทางด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย ที่อยู่อาศัย การท� ำงานและการมีรายได้ นันทนาการ กระบวนการยุติธรรมและบริการ ทางสังคมทั่วไป โดยค� ำนึงถึงศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ สิทธิที่ประชาชนจะต้องได้รับและมีส่วนร่วมใน การจัดสวัสดิการสังคมทุกระดับ (ศุภฤกษ์ พรหมชัย, ๒๕๕๘ : ๕; Christhopher Read, 2012 : 15) “สวัสดิการสังคม หมายถึง ความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน” Social Welfare = Social Well-being ๒.๒ สวัสดิการสังคมในฐานะที่เป็นการจัดระบบคุณภาพชีวิต สวัสดิการสังคม คือ คุณภาพชีวิตทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งรวมถึงสิ่งแวดล้อมใน การด� ำรงชีวิต ระดับของอาชญากรรม การจัดบริการทางสังคมส� ำหรับประชาชน ระบบความเชื่อและ ศาสนา การจัดระบบความช่วยเหลือส� ำหรับภาคสาธารณะ การให้ความคุ้มครองทางสังคม การบรรเทา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=