สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 สวัสดิการสังคม : แนวคิดและการประยุกต์ ในสังคมไทย ปฐมาภรณ์ บุษปธ� ำรง ราชบัณฑิต ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา บทคัดย่อ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากสังคมเกษตรกรรมสู่สังคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย ในหลายทศวรรษที่ผ่านมาส่งผลต่อการพัฒนาสวัสดิการสังคมในภาครัฐและเอกชน บทความนี้อภิปราย สวัสดิการสังคมโดยครอบคลุมความหมาย แนวคิด และการประยุกต์ในภาครัฐและเอกชน ประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยแบ่งเป็น ๖ หัวข้อดังนี้ ๑) บทน� ำ ๒) ความหมาย ของสวัสดิการสังคม ๓) แนวคิดสวัสดิการสังคม ๔) การประยุกต์ในภาครัฐและเอกชน ๕) สู่สังคมผู้สูง อายุ : สวัสดิการสังคมในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ ๑๒ และ ๖) บทสรุป ค� ำส� ำคัญ : สวัสดิการสังคม, ความเป็นอยู่ที่ดี, คุณภาพชีวิต, การพัฒนาสังคม, บริการทางสังคม ๑. ความน� ำ ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากสังคมเกษตรกรรมสู่อุตสาหกรรมในประเทศไทยส่งผลให้มี การอพยพจากชนบทสู่สังคมเมืองในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา กระแสการอพยพดังกล่าวด� ำเนินมาอย่าง ต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป การพัฒนาสวัสดิการสังคมมีปัจจัย ที่มีอิทธิพลหลายปัจจัยด้วยกัน คือ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม ระบบศาสนา เป็นต้น บทความนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการอภิปรายความหมาย แนวคิด รูปแบบ และการประยุกต์ สวัสดิการสังคมในสังคมไทย เนื่องด้วยสภาพสังคมในปัจจุบันส่งผลต่อความไม่แน่นอนในวิถีชีวิตของ คนเราทั้งในวัยเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ดังค� ำพระท่านสอนไว้ ความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอนที่ว่านี้ บางเรื่องก็เกิดขึ้นตามวัยต่าง ๆ เช่น คนในวัยเด็ก และวัยสูงอายุช่วยตัวเองไม่ได้ จ� ำเป็นต้องมีผู้ดูแล
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=