สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
การค้ามนุษย์ : กิ จกรรมต้องห้ามทางจริ ยธรรมในมุมมองของพุทธปรั ชญาและประชาคมโลก 186 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 การค้ามนุษย์และการเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ในฐานะต่าง ๆ ๒) การออกกฎหมายและการปราบปราม การค้ามนุษย์อย่างจริงจัง ซึ่งเป็นเรื่องของผู้ปกครองและผู้บริหารฝ่ายรัฐโดยเฉพาะ ในมาตรการ ๒ แนวทางนี้ มาตรการแรกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประชาชนผู้เป็นสมาชิกของ สังคมอย่างใกล้ชิดมากกว่าและเป็นมาตรการเชิงบวกที่สถาบันการศึกษาและหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาค เอกชนสามารถด� ำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง การให้การศึกษาและการส่งเสริมความรู้ทางจริยธรรมและทาง ศีลธรรมเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์นั้นสามารถท� ำได้ทั้งในสถาบันการศึกษาและในกิจกรรมสาธารณะต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นจิตส� ำนึกของประชาชน โดยน� ำเสนอสาระส� ำคัญในเรื่องต่อไปนี้ : ๑. แนวคิดแบบมนุษยนิยม การน� ำเสนอแนวคิดแบบมนุษยนิยมท� ำให้ตระหนักถึงคุณค่า ศักดิ์ศรี และความสามารถ ของมนุษย์ในการก้าวพ้นอุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ ให้ลุล่วงได้จนสามารถพัฒนาตนเองไปสู่ความส� ำเร็จ และความสุขด้วยความเพียร แนวคิดแบบมนุษยนิยมส่งเสริมให้มนุษย์เคารพความเป็นมนุษย์และไม่เห็น มนุษย์เป็นสินค้า จึงกระตุ้นเตือนทั้งผู้ค้ามนุษย์และเหยื่อของการค้ามนุษย์ให้เกิดความส� ำนึกในความส� ำคัญ และในคุณค่าของตนเองและผู้อื่น ๒. ความสามารถในการวิเคราะห์เรื่องคุณค่าของชีวิต ความสามารถในการวิเคราะห์เรื่องคุณค่าของชีวิตมาจากการพิจารณาค� ำสอนทางศาสนา ด้วยปัญญาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการด� ำเนินชีวิต ศาสนาที่ส� ำคัญของโลกล้วนมีค� ำสอนทางจริยศาสตร์ ให้มนุษย์ประเมินเรื่องดีชั่วโดยอาศัยการพิจารณาคุณค่าของสิ่งต่างๆ ที่เป็นเป้าหมายว่ามีคุณค่าแท้หรือ คุณค่าเทียม เช่น เกียรติยศชื่อเสียงและความร�่ ำรวยเป็นคุณค่าเทียมในชีวิตของบุคคล เป็นสิ่งที่ต้องแสวงหา จากภายนอกและไม่อยู่ยั่งยืนกับบุคคลนั้น เมื่อยังมีเกียรติและเงินทองก็มีผู้คนมาห้อมล้อมสรรเสริญ เมื่อหมดเกียรติหมดเงิน ผู้คนก็ห่างหายจากไป ส่วนคุณความดีเป็นคุณค่าแท้เป็นสิ่งที่เราสามารถสร้างสม ได้ไม่รู้หมดสิ้น การประกอบกรรมดีท� ำให้บุคคลนั้นเจริญรุ่งเรืองด้วยความดีตามกรรมดีของตนได้ไม่สิ้นสุด การค้ามนุษย์เพื่อความร�่ ำรวยจึงเป็นการแสวงหาคุณค่าเทียมที่ไม่สามารถน� ำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าตาม ที่ผู้กระท� ำมุ่งหวังได้ ๓. การพึ่งตนเองด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง หลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักคิดและแนวการปฏิบัติที่ท� ำให้คนเรารู้จักประมาณความ สามารถของตนเองและพึ่งตนเองได้ในการประกอบอาชีพ เมื่อคนเราสามารถท� ำมาหากินเลี้ยงตนและ ครอบครัวได้ ถึงพร้อมด้วยปัจจัย ๔ เป็นพื้นฐาน ไม่ล� ำบากยากเข็ญในการด� ำรงชีวิตก็ไม่จ� ำเป็นต้องเข้าสู่ ขบวนการค้ามนุษย์และตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=