สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
การค้ามนุษย์ : กิ จกรรมต้องห้ามทางจริ ยธรรมในมุมมองของพุทธปรั ชญาและประชาคมโลก 184 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ความคิดเห็นต่าง ๆ ของมนุษย์ก็สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ กล่าวคือ มนุษย์สามารถเจริญก้าวหน้าได้ด้วย การสื่อสารติดต่อกัน ถกเถียงอภิปรายกัน วิพากษ์วิจารณ์ซึ่งกันและกัน ตลอดจนมีความคิดเห็นสอดคล้อง กันได้โดยไม่จ� ำเป็นต้องถูกบังคับ ศาสนาคริสต์ซึ่งได้รับการยอมรับนับถืออย่างแพร่หลายในโลกตะวันตกก็มีแนวคิดแบบ มนุษยนิยม ดร. เสรี พงศ์พิศ นักคิด นักวิชาการ และนักกิจกรรมเพื่อสังคมในแวดวงชาวคริสต์ได้ชี้ให้เห็น ทรรศนะแบบมนุษยนิยมในศาสนาคริสต์ว่าปรากฏอยู่ในความคิดและค� ำสอนเรื่องมนุษย์คือฉายาของ พระเป็นเจ้าซึ่งตีความได้ ๒ แนว ทั้งในแบบสายกลางและในแบบเน้นย�้ ำความส� ำคัญของมนุษย์เหนือสิ่งอื่น กล่าวคือ ๑) ในความหมายแบบสายกลาง มนุษย์คือส่วนหนึ่งของสิ่งที่พระเป็นเจ้าทรงสร้างขึ้นจากความ ว่างเปล่าเช่นเดียวกับสิ่งอื่น ๆ ทั้งหลาย มนุษย์ไม่มีแก่นสารของตนเอง มีชีวิตจากพระเป็นเจ้าและขึ้นอยู่ กับพระเป็นเจ้า ๒) ในความหมายแบบสุดโต่ง มนุษย์เป็นนายเหนือธรรมชาติและเป็นสิ่งสร้างสรรค์พิเศษ ของพระเป็นเจ้า โดยเหตุที่มนุษย์สืบสายมาจากบรรพชนที่พระเป็นเจ้าสร้างขึ้นคู่เดียวกัน มนุษย์ทุกคน จึงเป็นพี่น้องกันและมีความเป็นเอกภาพ ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติหรือเผ่าพันธุ์ใดก็ตาม ส่วนสิ่งอื่น ๆ ทั้งหลาย ในโลกธรรมชาติก็ล้วนเป็นสิ่งที่พระเป็นเจ้าทรงสร้างขึ้นเพื่อให้มนุษย์ควบคุมและใช้ประโยชน์เพื่อตัวมนุษย์เอง ทั้งสิ้น ดร. เสรี พงศ์พิศ ชี้ให้เห็นว่า การที่มนุษย์ถือว่าตนเองเป็นนายเหนือธรรมชาติท� ำให้เกิดความ ตระหนักว่า ตนเองมีศักดิ์ศรีสูงกว่าสิ่งอื่นทั้งปวงที่พระเป็นเจ้าได้สร้างมา ดังที่ คัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม (The Old Testament) ตอนที่เป็น คัมภีร์ปฐมกาล ๑ : ๒๘ กล่าวถึงพระบัญชาของพระเป็นเจ้าต่ออาดัม (Adam) และคู่ครองในสวนสวรรค์ให้คนทั้งสองดูแลควบคุมพืชและสัตว์ในโลกธรรมชาติซึ่งแสดงให้เห็น ว่ามนุษย์เป็นใหญ่กว่าสิ่งสร้างสรรค์อื่น ๆ ในธรรมชาติ การที่มนุษย์มีความคิดว่าตนเองเป็นนายธรรมชาติ ท� ำให้มนุษย์พยายามเอาชนะธรรมชาติ ไม่ยอมจ� ำนนต่อการถูกบีบคั้นจากธรรมชาติจนเกิดพัฒนาการทาง วิทยาศาสตร์และการค้นคิดประดิษฐ์เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาจากสภาพธรรมชาติที่บีบคั้นตนเอง และเพื่อให้ตนเองด� ำรงชีวิตอย่างมีความสุขให้มากที่สุดในโลกธรรมชาติ นอกจากนั้น การที่มนุษย์ใช้เสรีภาพ ของตนในทางที่ผิดโดยการพยายามเอาชนะธรรมชาติเพื่อเสพสุขก็ท� ำให้มนุษย์เหินห่างจากพระเป็นเจ้าและ สร้างปัญหาร้ายแรงหลายประการให้ตนเอง ๓๕ ค� ำสอนในพระพุทธศาสนาก็ให้ความส� ำคัญต่อมนุษย์เช่นกัน จึงมีลักษณะเป็นมนุษยนิยม แต่พระพุทธศาสนาเน้นเรื่องความหมาย บทบาทและหน้าที่ของมนุษย์ในเชิงจริยธรรมและความพ้นทุกข์ ไม่ได้เน้นเรื่องการเอาชนะโลกธรรมชาติหรือการพยายามครอบครองโลกภายนอก พระพุทธศาสนาเน้นเรื่อง ๓๕ เสรี พงศ์พิศ, “คนในทรรศนะของคริสตศาสนา,” ใน คนในทรรศนะของพุทธศาสนา อิสลาม และคริสต์ศาสนา, รวบรวมโดย เสรี พงศ์พิศ. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์, ๒๕๒๔, น. ๒๐๒-๒๐๖.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=