สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

183 ภั ทรพร สิ ริ กาญจน วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ แบบกลาง ๆ ว่ามนุษย์มีสมรรถนะพิเศษที่พัฒนาได้ด้วยตนเองและพัฒนาเพื่อความก้าวหน้าของตนเอง ค� ำว่า Humanism เริ่มใช้กันแพร่หลายในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ โดยก่อนหน้านั้นก็ใช้ค� ำนี้ในแง่ของการพัฒนา ทางปัญญาและทางวัฒนธรรมมาบ้างแล้ว ๓๑ นักคิดที่ส� ำคัญทางมนุษยนิยมในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ มีหลาย ท่าน ดังเช่น ฌ็อง-ฌัก รูโซ (Jean-Jacques Rousseau, ค.ศ. ๑๗๑๒ - ๑๗๗๘) ชาวฝรั่งเศส เจเรมี เบนทัม (Jeremy Bentham, ค.ศ. ๑๗๔๘-๑๘๓๒) ชาวอังกฤษและอิมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant, ค.ศ. ๑๗๒๔ - ๑๘๐๔) ชาวเยอรมัน ซึ่งล้วนแต่ยกย่องคุณค่าของเสรีภาพ ความเสมอภาค และขันติธรรม เป็นต้น นักคิดนักปรัชญาเหล่านี้เชื่อมั่นในธรรมชาติของมนุษย์ ส� ำนึกทางจริยธรรม ความรับผิดชอบ และความ สามารถในการพัฒนาตนเองของมนุษย์ให้ก้าวหน้าได้อย่างเต็มที่ รูโซได้น� ำเสนอเรื่องสิทธิและเสรีภาพของมนุษย์ไว้อย่างน่าคิดในงานเขียนของท่านเรื่อง สัญญาประชาคม (The Social Contract) รูโซเชื่อว่า มนุษย์มีธรรมชาติที่ดีงาม แต่ที่ต้องยอมสละ เสรีภาพที่ตนมีอย่างสมบูรณ์ในชีวิตดั้งเดิมตามธรรมชาตินั้น ก็เพราะต้องการความสะดวกสบายและ ความปลอดภัยในชีวิต ๓๒ ส่วนเบนทัมก็เห็นว่า สถาบันทางสังคมไม่ได้อิงอาศัยกฎธรรมชาติ แต่อาศัย ประโยชน์สุขที่สมาชิกของสังคมพึงจะได้ ระบอบการปกครองที่ดีที่สุดจึงได้แก่ระบอบการปกครอง ที่ค�้ ำประกันความสุขมากที่สุดและก่อความทุกข์น้อยที่สุดแก่ประชาชนส่วนใหญ่ เบนทัมเชื่อว่าระบอบ การปกครองดังกล่าวคือระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพในการเลือกสิ่งที่ตนพอใจได้ มากที่สุด ๓๓ ส� ำหรับคานท์ก็เชื่อมั่นในเสรีภาพของมนุษย์ โดยอธิบายว่า เจตจ� ำนงเสรี (free will) เป็นสิ่ง ที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิดเพราะพระเป็นเจ้าสร้างมนุษย์ตามฉายาของพระองค์ โดยให้มนุษย์มีวิญญาณ (soul) ที่มีเจตจ� ำนงเสรีซึ่งแม้แต่พระเป็นเจ้าก็ไม่อาจเอาไปจากมนุษย์ได้ มนุษย์จึงสามารถท� ำดีท� ำชั่วได้ ตามต้องการ แต่ต้องรับผิดชอบในผลของการกระท� ำนั้นเอง ๓๔ นักมนุษยนิยม (Humanists) โดยทั่วไปให้ความส� ำคัญกับการศึกษาโดยมองเห็นว่า การศึกษา ท� ำให้มนุษย์มีพัฒนาการทางความชาญฉลาดด้านบุคลิกภาพและปัจเจกภาพ นักมนุษยนิยมตั้งแต่คริสต์ ศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมามีความโดดเด่นด้านเสรีภาพทางความคิดความเห็นและมีความเชื่อมั่นว่า มนุษย์ สามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นใจโดยไม่จ� ำเป็นต้องพึ่งพาสิ่งเหนือธรรมชาติหรือยึดมั่นในศาสนา นอกจากนั้น ๓๑ Robert Audi, gen.ed. , The Cambridge Dictionary of Philosophy, sec. ed. New York: Cambridge University Press, 2009, p. 397. ๓๒ รูโซ ฌ็อง ฌัก, สัญญาประชาคม, แปลโดยวิภาดา กิตติโกวิท, พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ  : ทับหนังสือ, ๒๕๕๕, น. ๓-๕. ๓๓ Robert Audi, gen. ed., The Cambridge Dictionary of Philosophy , p. 80. ๓๔ Immanuel Kant, Critique of Pure Practical Reason , ed. Carl J. Friedrich. New York: Random House, Inc., 1949., p. 223.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=