สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
พระมหากรุณาธิ คุณด้านการบริ หารราชการแผ่นดิ นใน “ระบบราชการ” ของพระมหากษั ตริ ย์ แห่งพระบรมราชจั กรี วงศ์ 12 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ประเด็นที่น่าสนใจคือ หลักการบริหารราชการแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว แสดงความเป็นพระมหากษัตริย์นักบริหารของพระองค์ กล่าวคือ นอกจากทรงวางรากฐานระบบ บริหารราชการแบบใหม่ด้วยการปฏิรูปแล้ว ยังได้ทรงวางหลักปฏิบัติทั้งของพระองค์เองและของข้าราชการ ในส่วนของพระองค์เองทรงตั้งพระราชปณิธานในการปฏิบัติงานว่าจะไม่ให้ราชการคั่งค้าง ทรงถือหลัก ความตรงต่อเวลา มีพระวิริยอุตสาหะในการเรียนรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งภายในบ้านเมืองและความเป็นไปใน ต่างประเทศ โดยจะไม่ทรงพิจารณาเพียงรายงานจากเสนาบดีเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อประกอบพระบรมราโชบาย และพระบรมราชวินิจฉัยอย่างรอบคอบ ในส่วนของข้าราชการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงแสดงปัญหาเกี่ยวกับ คุณสมบัติของข้าราชการที่พระองค์ทรงประสบคือ การใช้ข้าราชการที่เป็น “คนเก่า” และ “คนใหม่” ทรง แสดงความต้องการที่จะประสานความเป็น “คนเก่า” “คนใหม่” ที่รู้ทั้ง “นอก” และ “ใน” เข้าด้วยกัน ปัญหาคุณสมบัติของข้าราชการจึงเป็นเรื่องส� ำคัญเรื่องหนึ่งในช่วงปฏิรูประบบการบริหาร ราชการแผ่นดิน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงน� ำมาใช้เป็นหลักในการพระราชทาน ข้อแนะน� ำแก่ข้าราชการ กล่าวคือ ในระดับเสนาบดี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ด� ำเนินการใช้นโยบาย ในการบริหารบุคลากรของกระทรวงด้วยการประสาน “คนเก่า” กับ “คนใหม่” และการท� ำงานให้เป็น ระบบและมีระเบียบ ในระดับปลัดทูลฉลอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้การท� ำงานประสานกับ ผู้บังคับบัญชาในการวินิจฉัย การท� ำงานให้ตรงเวลา และการลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตาม ในระดับข้าราชการทั่วไป ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ด� ำเนินการคือ ใช้การปฏิรูปทางสายกลางในการรับความเจริญของตะวันตก และการปรับปรุงแบบแผนประเพณีของไทยให้เหมาะสมกับยุคสมัย การปลูกฝังความสามัคคี การปฏิบัติ ราชการโดยยึดหลักการประสานงาน การลงมือปฏิบัติจริง และความใส่ใจติดตามผลการท� ำงานโดยยึดหลัก การบ� ำบัดทุกข์บ� ำรุงสุขของประชาชน หลักข้างต้นนับว่าเป็นเรื่องที่ไม่ล้าสมัย ซึ่งข้าราชการทุกยุคทุกสมัยควรยึดถือเป็นแนวทางใน การปฏิบัติราชการอันจะยังประโยชน์สุขแก่ประชาชน และก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองแก่ประเทศชาติ เป็นที่สุด ส่วนในด้านราษฎรนั้น ได้ทรงด� ำเนินการสืบเนื่องพระราชด� ำริของสมเด็จพระบรมชนกนาถคือ การสร้างคนสร้างชาติ ได้แก่ การยกเลิกระบบไพร่และทาส การให้การศึกษา การสร้างและส่งเสริมอาชีพ การอ� ำนวยความสะดวกสบายและรวดเร็วในการคมนาคมสื่อสาร การให้ความยุติธรรม การให้มีส่วน ร่วมในการปกครองท้องถิ่น ส่วนในด้านเศรษฐกิจ ทรงปรับปรุงการคลังให้ทันสมัยตามแบบสากล ได้แก่ การท� ำงบประมาณแผ่นดิน การเปลี่ยนแปลงมาตราของเงิน การตั้งธนาคาร การเปลี่ยนแปลงมาตรฐาน เงินมาเป็นมาตรฐานทองค� ำ และการยกเลิกบ่อนเบี้ย นับเป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาประเทศกับทั้งยัง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=