สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
การค้ามนุษย์ : กิ จกรรมต้องห้ามทางจริ ยธรรมในมุมมองของพุทธปรั ชญาและประชาคมโลก 182 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งใน ๑๒๔ ประเทศที่ได้ลงนามในพิธีสาร (Protocol) ว่าด้วยการ ป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ ซึ่งผนวกท้ายอนุสัญญาแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้าน อาชญากรรมข้ามชาติ (Convention on Transnational Organized Crime) พิธีสารดังกล่าวสนับสนุนและ ยืนยันประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนของบุคคลทุกคนตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. ๑๙๔๘ (Universal Declaration of Human Rights, 1948) โดยองค์การสหประชาชาติ (UN) ได้บัญญัติสาระ ส� ำคัญของสิทธิมนุษยชนว่าเป็นสิทธิโดยสมบูรณ์และสิทธิขั้นพื้นฐานที่บุคคลพึงมีในฐานะที่เป็นมนุษย์โดยไม่ ค� ำนึงถึงเพศ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ชนชั้นหรือวรรณะ ศาสนาหรือสภาวะใด ๆ ของบุคคล สิทธิมนุษยชนมีขึ้นเพื่อ ปกป้องคุ้มครองมนุษย์ทุกคนจากการล่วงละเมิดหรือการกดขี่ข่มเหงในกระบวนการทางกฎหมาย การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม สิทธิดังกล่าวนี้ ได้แก่ สิทธิในการได้รับการปฏิบัติโดยเท่าเทียม ปราศจาก การเลือกปฏิบัติ สิทธิในการมีสัญชาติ สิทธิในการได้รับการศึกษา สิทธิเสรีภาพจากการไม่ถูกใช้เป็นทาส และแรงงานทาส สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการโยกย้ายถิ่นฐาน สิทธิเสรีภาพทางอุดมการณ์ ความคิดเห็น และการแสดงออกเป็นต้น ๒๙ การเน้นความส� ำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชน เสรีภาพของมนุษย์ และความส� ำคัญของมนุษย์ โดยทั่วไปปรากฏอยู่ชัดเจนในแนวคิดแบบมนุษยนิยม (Humanism) ซึ่งถือว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิต สิ่งหนึ่งในธรรมชาติ มีศักดิ์ศรี มีค่า และมีความสามารถที่จะพัฒนาตนเองได้โดยอาศัยเหตุผลและวิธี การทางวิทยาศาสตร์ ไม่ต้องอาศัยอ� ำนาจเหนือธรรมชาติ ในทางปรัชญาถือว่ามนุษย์มีความส� ำคัญเหนือ สิ่งอื่นใดในจักรวาล ความเป็นมนุษย์มีความส� ำคัญสูงสุด มนุษย์เป็นผู้รับผิดชอบการกระท� ำของตนเองและ เป็นศูนย์กลางในการก� ำหนดมาตรการและมาตรฐานของทุกสิ่ง ส่วนมนุษยนิยมในทรรศนะทางศาสนา เช่นในพระพุทธศาสนาก็ถือว่ามนุษย์จะพัฒนาตนเองให้สมบูรณ์ได้ก็โดยอาศัยหลักค� ำสอนทางศาสนา ๓๐ ค� ำว่า Humanism เริ่มต้นใช้กันในอารยธรรมตะวันตก เพื่อแสดงโลกทัศน์และชีวทัศน์แบบหนึ่งที่พัฒนา ไปตามประวัติศาสตร์ของมนุษย์และเป็นแกนส� ำคัญของอารยธรรมตะวันตก แนวคิดแบบ Humanism หรือมนุษยนิยมมีท่าทีตรงข้ามกับแนวคิด ๒ แนว คือ ๑) แนวคิดที่เน้นอ� ำนาจเหนือธรรมชาติและเหนือ โลก ซึ่งเห็นว่ามนุษย์ต้องพึ่งพิงกฎเกณฑ์ของเทพเจ้า และ ๒) แนวคิดที่ต่อต้านการปฏิบัติต่อมนุษย์ราวกับ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกฎธรรมชาติหรือมีสภาวะเท่าเทียมกับสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น ๆ มนุษยนิยมมีทรรศนะ ๒๙ พันต� ำรวจตรีหญิง จรีย์วรรณ พุทธานุรักษ์, ชายไทย รักษาชาติ และ ณรัตน์ สมสวัสดิ์, “การค้ามนุษย์” พินิจในแนวสตรีนิยมในพื้นที่ของ อินเตอร์เนต กระบวนการทางกฎหมายและหน่วยงานภาครัฐ, น. ๑๗๒. ๓๐ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน , พิมพ์ครั้งที่ ๔ กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๘, น. ๔๔.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=