สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
181 ภั ทรพร สิ ริ กาญจน วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ หลักคิดในพระพุทธศาสนาที่ส่งเสริมให้บุคคลรู้จักหาทรัพย์อย่างสุจริต รู้จักรักษาทรัพย์ไว้ใช้ประโยชน์ ในยามจ� ำเป็นและให้ได้ประโยชน์สูงสุด ตลอดจนรู้จักเพิ่มพูนทรัพย์ให้งอกงามอย่างสุจริตเพื่อความมั่นคง ในการด� ำรงชีวิต ดังปรากฏในค� ำสอนทางพระพุทธศาสนาเรื่อง ทิฏฐธัมมิกัตถะ (ธรรมเพื่อประโยชน์ ในปัจจุบัน) ซึ่งประกอบด้วย ๑) การถึงพร้อมด้วยความหมั่น (อุฏฐานสัมปทา) หมายถึง ความขยัน หมั่นเพียรในการประกอบอาชีพการงานอย่างสุจริตเชี่ยวชาญ และมีสติปัญญา ๒) การถึงพร้อมด้วยการ รักษา (อารักขสัมปทา) หมายถึง การรู้จักเก็บรักษาทรัพย์สินของตนให้ปลอดภัย ๓) การคบคนดีเป็นมิตร (กัลยาณมิตตตา) หมายถึง การรู้จักคบหาคนดี คนที่มีความสามารถและน่าเคารพนับถือซึ่งเกื้อกูลต่อ การท� ำงาน ไม่คบคนชั่วที่น� ำไปสู่ความเสื่อม ๔) การเลี้ยงชีวิตอย่างเหมาะสม (สมชีวิตา) หมายถึงการรู้จัก ก� ำหนดรายได้และรายจ่ายให้พอดี ให้รายได้มากกว่ารายจ่าย และมีการประหยัดอดออมไว้ใช้ยามจ� ำเป็น ๒๖ การเข้าใจและการปฏิบัติตามพระบรมราโชวาทและพุทธทัศนะดังกล่าวต้องอิงอาศัยความมีศีลและปัญญา ซึ่งยังผลให้ผู้ปฏิบัติสามารถพ้นจากความยากจน เห็นโทษจากความร�่ ำรวยทรัพย์อย่างทุจริตและเกินพอดี และมองเห็นภัยจากการยุ่งเกี่ยวกับขบวนการค้ามนุษย์ทุกรูปแบบอย่างชัดเจน ๓. การค้ามนุษย์ในมุมมองของประชาคมโลก ในที่นี้ อาจถือได้ว่า “ประชาคมโลก” หมายถึงกลุ่มประชาชนในโลกซึ่งสะท้อนความต้องการและ ความรู้สึกนึกคิดผ่านทางองค์การสหประชาชาติซึ่งมีตัวแทนของชาติต่าง ๆ ทั่วโลก องค์การสหประชาชาติ (The United Nations) พิจารณาว่า การค้ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นการละเมิด สิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงและเป็นปัญหาที่บั่นทอนความมั่นคงของมนุษย์ การที่องค์การสหประชาชาติรับรอง พิธีสารเรื่องการป้องกันปราบปรามและลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะการค้าหญิงและเด็ก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของอนุสัญญาต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓ จึงเป็นการประกาศเจตนารมณ์ของประชาคม โลก ในอันที่จะร่วมมือกันปราบปรามแก้ไขปัญหานี้ให้หมดไปในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ ๒๗ ทั้งนี้ เนื่องจาก ปฏิญญาสากลสหประชาชาติระบุไว้ว่า คนทุกคนเกิดมาเป็นอิสระและเท่าเทียมกันในเรื่องศักดิ์ศรีและความ เป็นมนุษย์ ไม่มีผู้ใดสมควรถูกกดลงเป็นทาส การเป็นทาสและการค้าทาสจ� ำเป็นต้องถูกขจัดให้หมดสิ้น ๒๘ ๒๖ เรื่องเดียวกัน, น. ๒๘. อ่านเพิ่มเติมใน มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, เล่มที่ ๒๓, น. ๓๘๘ – ๓๙๒. ๒๗ ศิริพร สโครบาแนค, การค้ามนุษย์ แนวคิด กลไก และประเด็นท้าทาย, น. ๙. ๒๘ เรื่องเดียวกัน, น. ๒๒.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=