สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

การค้ามนุษย์ : กิ จกรรมต้องห้ามทางจริ ยธรรมในมุมมองของพุทธปรั ชญาและประชาคมโลก 180 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ประชาชนโดย ๑) พระราชทานพันธุ์พืชและอาหารแก่เกษตรกรผู้ขยันในการท� ำการเกษตร ๒) พระราชทาน ต้นทุนแก่ราษฎรผู้ขยันในการค้าขาย ๓) พระราชทานอาหารและเงินเดือนแก่ข้าราชการผู้ขยันในหน้าที่ ราชการ ๒๓ ซึ่งวิธีการเหล่านี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในปัจจุบันของไทยได้ทรงปฏิบัติ มาแล้วทั้งสิ้นเพื่อให้บ้านเมืองได้ด� ำรงอยู่อย่างสงบร่มเย็น นอกจากนี้ พระองค์ยังได้พระราชทานแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้ประชาชนได้น� ำไปใช้เป็นแนวทางด� ำเนินชีวิตให้พ้นจากความยากจน ดังมีความว่า เราควรจะปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้แปลว่า เศรษฐกิจพอ เพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนพอมีพอกินก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้น ก็เริ่มจะไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย สมัยก่อนนี้พอมีพอกิน มาสมัยนี้ชักจะไม่พอมีพอกิน จึงต้องมีนโยบายที่จะท� ำ เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อจะให้ทุกคนมีพอเพียงได้ ให้พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าท� ำให้มีความสุข ถ้าท� ำได้ก็สมควรที่จะท� ำ...เศรษฐกิจพอเพียงนี้กว้างขวาง กว่า self-sufficiency คือ self-sufficiency นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรที่พอจะใช้ ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง (พึ่งตนเอง) ๒๔ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานส� ำหรับ “ทฤษฎีใหม่” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นแนวการพัฒนาและบริหารจัดการที่ดินและแหล่งน�้ ำส� ำหรับเกษตรกรรายย่อยที่มีที่ดินท� ำกินขนาด จ� ำกัดเพื่อให้สามารถผลิตข้าวได้พอเพียงในการบริโภค และพ้นความยากจนได้ หลักการของ “ทฤษฎีใหม่” เสนอแนะให้เกษตรกรจัดสรรพื้นที่อยู่อาศัยและที่ท� ำกินโดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๔ ส่วน ส่วนที่หนึ่งมีพื้นที่ร้อย ละ ๓๐ ส� ำหรับขุดสระเก็บกักน�้ ำในฤดูฝน เพื่อปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์นั้น ส่วนที่สองเป็นพื้นที่ร้อยละ ๓๐ ส� ำหรับปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อเป็นอาหารของครอบครัวตลอดปี ส่วนที่สามเป็นพื้นที่ร้อยละ ๓๐ ใช้ส� ำหรับ ปลูกผลไม้ พืชไร่ พืชสมุนไพร และอื่น ๆ เพื่อเป็นอาหารหรือจ� ำหน่ายส่วนที่เหลือและส่วนที่สี่เป็นพื้นที่ ร้อยละ ๑๐ ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ การจัดแบ่งพื้นที่ดังกล่าว จะสามารถใช้ ประโยชน์จากที่ดินได้อย่างเต็มที่ ท� ำให้มีกินมีใช้ได้ตลอดปีจนปลอดพ้นจากความยากจน ๒๕ พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสอดคล้องกับค� ำสอนในพระไตรปิฎกที่ ถือว่า เป็นหน้าที่ของรัฐและผู้ปกครองที่ต้องบริหารจัดการดูแล ไม่ให้มีคนยากจนในแผ่นดิน และอิงอาศัย ๒๓ เรื่องเดียวกัน, เล่ม ๙, น. ๑๓๐ -๑๔๕. ๒๔ พระราชด� ำรัสพระราชทานในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ อ้างใน ราชบัณฑิตยสถาน, ใต้ร่มพระบารมี จักรีนฤบดินทร์ สยามินทราธิราช . กรุงเทพฯ : ด่านสุธาการพิมพ์, ๒๕๔๗. น. ๔๕๔. ๒๕ เรื่องเดียวกัน, น. ๔๔๐.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=