สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

179 ภั ทรพร สิ ริ กาญจน วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ การนิยมยกย่องคนเพียงเมื่อเห็นเขามั่งมี โดยคิดว่าเขาเป็นคนมีบุญ ได้ท� ำกรรมดีไว้ในปางก่อน (ชาติก่อน) ไม่มองดูการสร้างเหตุแห่งความมั่งมีของเขา ในชาติปัจจุบัน นับว่าเป็นการปฏิบัติผิดจากแนวทางของพระพุทธศาสนาทั้ง สองด้าน คือทั้งเป็นการไม่ด� ำเนินตามแบบอย่างของพระพุทธเจ้าดังที่กล่าวข้างต้น และทั้งเป็นการไม่ใช้ปัญญาสืบสาวเหตุปัจจัยให้ตลอดสาย ๒๑ การพิจารณาเรื่องความร�่ ำรวยของบุคคลจึงควรแยกเป็น ๒ ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนของ การกระท� ำที่ท� ำให้เกิดความร�่ ำรวยและขั้นตอนของการกระท� ำจากความร�่ ำรวยหรือทรัพย์ที่มีอยู่นั้น ค� ำสอนในพระพุทธศาสนาไม่เน้นความส� ำคัญของการมีทรัพย์ แต่เน้นเรื่องการแสวงหาและใช้จ่ายทรัพย์ ถ้าคนเราท� ำชั่ว ปฏิบัติไม่ถูกต้อง แทนที่ทรัพย์ที่มีอยู่จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ก็อาจกลับ เป็นให้โทษท� ำลายทั้งตนเอง ความเป็นมนุษย์และสังคมโดยรวม ดังพุทธพจน์ที่ปรากฏดังนี้ น�้ ำเย็นในถิ่นอมนุษย์ที่ไม่ได้ใช้สอย ย่อมเหือดแห้งไปฉันใด ทรัพย์ที่คนชั่วได้แล้ว ตนเองไม่ได้ใช้ และไม่ให้คนอื่นใช้ ก็เสียไปเปล่าฉันนั้น ส่วนวิญญูชนผู้มีปัญญานั้น ได้โภคะแล้ว ย่อมใช้สอยและประกอบกิจการงาน เขาเป็นคนอาจหาญ เลี้ยงดูหมู่ญาติ ไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าถึงแดนสวรรค์ ๒๒ อาจกล่าวได้ว่า ความชั่วร้ายที่เกี่ยวกับทรัพย์สินโดยทั่วไปมีอยู่ ๓ ประการ คือ ๑) การแสวงหา ทรัพย์โดยไม่ถูกต้อง ๒) การครอบครองทรัพย์โดยไม่ก่อประโยชน์ และ ๓) การใช้จ่ายทรัพย์อย่างให้โทษ นอกจากนั้น พระพุทธศาสนาก็ไม่ได้ส่งเสริมให้คนทุกคนเป็นคนร�่ ำรวย แต่ส่งเสริมให้คนทั่วไปพ้นจาก ความยากจนและมองเห็นความยากจนเป็นทุกข์ในโลก โดยตระหนักว่า สาเหตุส� ำคัญของอาชญากรรม และความชั่วร้ายต่าง ๆ ในสังคม คือความยากจนหรือความยากไร้ขาดแคลน แนวคิดดังกล่าวปรากฏ ในกูฏทันตสูตร แห่งพระไตรปิฎกที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาของกูฏทันตพราหมณ์ว่า วิธีก� ำจัดโจรผู้ร้าย ที่ถูกต้องคือการก� ำจัดความยากจน ถ้าผู้คนพ้นจากความยากจน บ้านเมืองก็จะพ้นจากโจรที่ปล้นผู้อื่นเพื่อ หากิน ในพระสูตรนี้ วิธีการที่พระเจ้ามหาวิชิตราชปราบปรามโจรผู้ร้ายได้ก็คือการก� ำจัดความยากจนของ ๒๑ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย, พิมพ์ครั้งที่ ๓๒. กรุงเทพฯ : ส� ำนักพิมพ์ผลิธัมม์, ๒๕๕๕, น. ๗๕๑. ๒๒ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย , เล่ม ๑๕, น. ๑๕๗.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=