สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
การค้ามนุษย์ : กิ จกรรมต้องห้ามทางจริ ยธรรมในมุมมองของพุทธปรั ชญาและประชาคมโลก 178 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ประมาท ๕) วิสวณิชชา (การค้าขายยาพิษ) หมายถึง การให้ท� ำยาพิษแล้วค้าขายยาพิษนั้น การค้าขายยา พิษเป็นเหตุให้เกิดการฆ่าและการละเมิดศีลข้อแรกที่ให้เว้นจากการฆ่า ๑๙ การค้ามนุษย์เป็นประเด็นที่แสดงถึงการละเมิดค� ำสอนเรื่องการค้าขายที่ชาวพุทธไม่ควรท� ำข้อ ที่ว่าด้วยสัตตวณิชชาซึ่งปฏิเสธศีลและธรรมขั้นพื้นฐานในข้อที่ให้เว้นจากการฆ่า เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เป็นต้น เพราะการค้ามนุษย์อาจน� ำไปสู่การฆ่าเหยื่อเพื่อปิดปาก การลักลอบเอาบุตร ภรรยา หรือสามีของผู้อื่นไปขายและน� ำเหยื่อไปค้าประเวณีซึ่งเป็นการประพฤติผิด ในกาม ส่วนการละเมิดเบญจธรรมซึ่งเป็นธรรมขั้นพื้นฐานของชาวพุทธ ก็เห็นได้จากการขาดความเมตตา กรุณา มองเห็นมนุษย์เป็นเพียงสิ่งของที่สามารถซื้อขายกันได้ ไม่มีความเห็นใจในความทุกข์ยากของเหยื่อ และเป็นการประกอบอาชีพที่ต้องห้ามส� ำหรับชาวพุทธ เป็นต้น ในการประกอบอาชีพและการด� ำรงชีวิตของคนเรานั้น จ� ำเป็นต้องอยู่ในกรอบของศีลธรรม เพื่อให้เกิดความสุขและความสงบของตนเองและสังคมที่เราอิงอาศัย ข้อคิดที่ชวนให้เราจ� ำเป็นต้องมีศีล คือการรู้จักเทียบเคียงความรู้สึกนึกคิดของเรากับผู้อื่นว่าเป็นเช่นเดียวกัน ไม่แตกต่างจากกัน เพื่อให้เกิด ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ตลอดจนไม่คิดเบียดเบียนกัน ดังพุทธโอวาทในพระไตรปิฎกที่ว่า เราอยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ ข้อที่บุคคลพึงปลงชีวิต เราผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์นั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ของเรา อนึ่ง ข้อที่เราพึงปลงชีวิตผู้อื่น ผู้อยากเป็นอยู่ไม่อยากตาย รักสุขเกลียด ทุกข์นั้น ก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจของ เรา สิ่งนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ของเรา เราจะน� ำสิ่งนั้นไปผูกมัดกับผู้อื่นได้อย่างไร ๒๐ ด้วยเหตุนี้ การสร้างความเดือดร้อนนานาประการแก่ผู้อื่น เช่นในกระบวนการค้ามนุษย์ จึงเป็นสิ่งไม่ควรกระท� ำตามหลักคิดทางพระพุทธศาสนา เหตุผลประการหนึ่งที่ท� ำให้บุคคลบางคนหรือบางกลุ่มประกอบธุรกิจการค้ามนุษย์คือความอยาก ร�่ ำรวยเพราะความร�่ ำรวยทรัพย์เป็นคุณสมบัติประการหนึ่งของผู้มีบุญบารมีตามความเข้าใจของคนทั่วไป ซึ่งเชื่อมโยงกับการเป็นคนดี ดังที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ตั้งข้อสังเกตว่า ๑๙ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, เล่ม ๒๒. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙, น. ๒๙๕. ๒๐ เรื่องเดียวกัน, เล่ม ๑๙, น. ๕๐๒.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=