สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

การค้ามนุษย์ : กิ จกรรมต้องห้ามทางจริ ยธรรมในมุมมองของพุทธปรั ชญาและประชาคมโลก 176 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 นอกจากนั้น การยอมเป็นทาสนานมากดังกล่าวย่อมสมควรที่จะได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ได้รับความ เป็นไท เมื่อนายทาสทราบพระราชประสงค์จึงได้ลดหย่อนค่าตัวทาสเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลด้วย ท� ำให้ มีทาสที่ได้รับการไถ่ถอนตัวทั้งสิ้นมีจ� ำนวน ๔๔ คน เป็นชาย ๑๖ คน หญิง ๒๐ คนและลูกทาส ๘ คน ทาสทั้งหมดนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานควายและที่นาแถวบางปะอินเพื่อตั้งตัวท� ำมาหากิน ต่อไป ๑๘ ในปัจจุบัน ประเทศไทยไม่มีทาสแล้วและนายจ้างกับลูกจ้างก็ไม่ได้ท� ำสัญญากันเป็นลายลักษณ์ อักษรเสมอไป เมื่อเกิดกรณีลูกจ้างหรือเด็กในอุปถัมภ์ทิ้งงานไป นายก็อาจเสียทั้งเงินและงานพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างก็มีความหลากหลายและมีความซับซ้อนมากขึ้น จนกลายเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่งที่เรียกว่าการค้ามนุษย์ โดยสรุป การค้ามนุษย์อาจจ� ำแนกออกได้ เป็นลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ ๑. การค้ามนุษย์จากการเอาเปรียบทางเพศที่กระท� ำต่อสตรี การค้ามนุษย์ลักษณะนี้มีอยู่ ทั่วโลกโดยหลอกลวงสตรีและเด็กหญิงจากประเทศที่ก� ำลังพัฒนาหรือพัฒนาแล้วว่า จะจัดหางานให้ท� ำและให้มีชีวิตที่ดีกว่าเดิมในดินแดนแห่งใหม่ ท� ำให้เหยื่อต้องละทิ้งถิ่นฐาน เดิมไปถูกบังคับให้ขายตัว เป็นทาสทางเพศ ถูกกักขังหน่วงเหนี่ยว และด� ำรงชีวิตอย่าง หวาดกลัวในต่างถิ่น ๒. การค้ามนุษย์ด้วยการบังคับใช้แรงงาน เหยื่อมักมาจากประเทศก� ำลังพัฒนา ถูกหลอกลวง และถูกบังคับขู่เข็ญให้เป็นทาสแรงงานโดยถูกใช้ให้ท� ำงานด้านเกษตรกรรมและการก่อสร้าง เป็นคนใช้และคนงานประเภทต่าง ๆ เหยื่อของการค้ามนุษย์ในลักษณะนี้มีทั้งบุรุษ สตรี และเด็ก ๓. การค้ามนุษย์โดยการละเมิดสิทธิของเด็กในทางเพศ การละเมิดสิทธิของเด็กในทางเพศ เป็นอาชญากรรมที่ปรากฏชัดในทวีปเอเชีย แอฟริกา อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ เป็น การค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นในวงการการท่องเที่ยวที่คนบางกลุ่มนิยมหาความสุขทางเพศ จากเด็ก ๆ ในประเทศหรือดินแดนที่กฎหมายเรื่องการละเมิดทางเพศต่อเด็กและเยาวชน ยังไม่รัดกุมเพียงพอ ๑๘ เอนก นาวิกมูล, ประมวลเรื่องรัชกาลที่ ๕. กรุงเทพฯ : ส� ำนักพิมพ์แสงดาว, ๒๕๔๓, น. ๑๐๑-๑๐๓.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=