สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
175 ภั ทรพร สิ ริ กาญจน วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ๑. ถูกบังคับให้ท� ำงานด้วยการข่มขู่ให้เกรงกลัวทั้งทางร่างกายและจิตใจ ๒. ถูกนายจ้างควบคุม ข่มขู่ หรือประทุษร้ายทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยอ้างสิทธิ์ การเป็นเจ้าของ ๓. ถูกกระท� ำราวกับเป็นทรัพย์สินและสินค้าที่ซื้อขายได้และไม่ใช่มนุษย์ ๔. ถูกควบคุมจ� ำกัดไม่ให้เคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี ๑๔ ในปัจจุบัน การค้าทาสยังคงปรากฏอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ๑. แรงงานที่ติดหนี้ ๒. แรงงานที่ถูกบังคับ ๓. แรงงานเด็กที่ถูกละเมิดสิทธิ์ขั้นพื้นฐาน (ไม่ได้รับการเลี้ยงดูให้เติบโตพัฒนาทางกายและใจ ไม่ได้รับการศึกษาและไม่ได้รับการปกป้องจากอันตราย) ๔. การค้ามนุษย์ ซึ่งหมายถึง การขนส่งและการซื้อขายมนุษย์เช่นสินค้า ๑๕ จะเห็นได้ว่า ค� ำว่า “ทาส” ในภาษาไทยและในความหมายของสังคมไทยมีความหมายกว้างกว่า ค� ำว่า “slave” ในภาษาอังกฤษ และในความหมายของสังคมตะวันตก ในสังคมไทย “ทาส” มีลักษณะ คล้ายลูกหนี้ และในระบบศักดินาทาสสามารถถือครองที่ดินได้ ๕ ไร่ ๑๖ ทาสได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ไทย สามารถไถ่ถอนตัวเองได้ เช่น ใช้เงินค่าไถ่หรือหนีไปอยู่ที่อื่น ถ้าทาสหนีไปอยู่กับผู้อื่นและนายตามไป เอาคืนมาไม่ได้ ทาสก็เป็นอิสระ นายมีหน้าที่คุ้มครองทาสและไม่สามารถข่มเหงรังแกทาสได้ เช่น เมื่อเกิด ทุพภิกขภัย นายต้องรับผิดชอบเลี้ยงดูทาส และนายจะถูกลงโทษถ้าเป็นชู้กับเมียทาส นอกจากนี้ พระพุทธ- ศาสนายังคุ้มครองและเอื้อให้ทาสได้รับอิสรภาพโดยเมื่อเจ้าของทาสหรือนายทาสอนุญาตให้ทาสรับ การอุปสมบทเป็นพระภิกษุหรือถือบวชเป็นแม่ชี ทาสก็จะได้รับอิสรภาพทันที ๑๗ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเลิกทาสโดยการตราพระราชบัญญัติ พิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไท ร.ศ. ๙๓ ขึ้น (ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๑๗) และเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๐ เมื่อทรงเจริญ พระชนมายุครบ ๒ รอบ (๒๔ พรรษา) ได้ทรงบริจาคทรัพย์จ� ำนวน ๘,๗๖๗ บาท เพื่อช่วยไถ่ถอนทาส ที่ขายตัวอยู่กับนายเดียวนาน ๒๕ ปี โดยไม่เคยย้ายไปสังกัดที่นายอื่น ทั้งนี้ เพราะทรงด� ำริว่า ทาสที่ทนอยู่ กับนายเดียวได้นานเช่นนั้นย่อมต้องเป็นคนดีมากพอที่จะท� ำมาหากินโดยสุจริตเพื่อมีความสุขได้ในชีวิต ๑๔ เรื่องเดียวกัน, น. ๑๒. ๑๕ เรื่องเดียวกัน, น. ๒๓-๒๔. ๑๖ ม.ร.ว. อคิน รพีพัฒน์, สังคมไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ : พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๔๑๖ , น. ๒๓๗. ๑๗ เรื่องเดียวกัน, น. ๒๒๕-๒๒๖.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=