สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
การค้ามนุษย์ : กิ จกรรมต้องห้ามทางจริ ยธรรมในมุมมองของพุทธปรั ชญาและประชาคมโลก 174 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ประกาศขึ้นเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์การค้ามนุษย์ที่ซับซ้อนแยบยลมากขึ้นในปัจจุบัน นอกจากนี้ ประเทศไทย ก็ได้ลงนามอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กรและ ในการลงนามในพิธีสารเพื่อป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็ก เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น การค้ามนุษย์ในปัจจุบันกับการค้าทาสในยุคเก่ามีความแตกต่างกัน เห็นได้จาก ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ ที่กล่าวว่า หลักส� ำคัญที่กฎหมายลักษณะทาสถือปฏิบัติคือ ชายที่เป็นหัวหน้าครอบครัว มีกรรมสิทธิ์ในตนเอง ภรรยา และบุตร จึงมีสิทธิตามกฎหมายที่จะขายตนเอง ภรรยา และบุตรให้คนอื่นได้ ๑๐ ฐานะและอ� ำนาจของหัวหน้าครอบครัวถูกจ� ำกัดไว้ตามประกาศรัชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๑๐ ว่า การซื้อขาย เช่นนี้ จะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ที่จะถูกน� ำไปซื้อขาย โดยกฎหมายไทยถือว่า ทาสเป็นทั้งวัตถุและ เป็นทั้งบุคคลตามกฎหมาย ในฐานะที่เป็นวัตถุตามกฎหมาย ทาสถูกน� ำไปขายได้และให้เช่าแรงงานได้ด้วย แต่ในฐานะที่เป็นบุคคลตามกฎหมาย ทาสได้รับอนุญาตให้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน ได้รับมรดกในทรัพย์สิน และสามารถเข้าถึงศาลยุติธรรมได้ ตลอดจนมีสิทธิ์ตามกฎหมายที่จะไถ่ถอนตนเองได้ ที่น่าสังเกตก็คือ ในประมวลกฎหมายรัชกาลที่ ๑ ระบุว่า จะท� ำการซื้อขายทาสโดยแสวงหาก� ำไรไม่ได้ เพราะราคาของทาส จะอยู่ที่การซื้อขายทาสครั้งแรก หากเจ้านายจะขายทาสต่อไปอีกทอดหนึ่งด้วยราคาที่สูงกว่าราคาเดิม ที่ซื้อมา และปรากฏว่าต่อมาทาสต้องการอิสรภาพและขอจ่ายเงินไถ่ตัวเอง ทาสก็จะจ่ายเงินเพียงจ� ำนวน เงินที่เจ้านายเดิมซื้อมาเท่านั้น เจ้านายคนใหม่ต้องไปเรียกร้องส่วนต่างที่ตนจ่ายในการซื้อทาสจากเจ้านาย คนเดิมเอาเอง ๑๑ ในการซื้อขายทาส กฎหมายไทยได้ระบุไว้ให้ท� ำสัญญาการขายทาสกันเป็นลายลักษณ์อักษร สารกรมธรรม์การขายทาสกันนี้ จะต้องลงวันที่ที่ท� ำการขาย เงินที่จ่ายในการซื้อ ชื่อของผู้ซื้อ ผู้ขาย นายประกันและทาส ในกรณีที่มีการขายต่ออีกทอดหนึ่งด้วยราคาที่สูงขึ้น ทาสหรือนายประกันทาส จะเป็น ผู้ถือสารกรมธรรม์ของราคาขายครั้งแรกไว้ ทาสจึงรู้จ� ำนวนเงินที่แน่นอนในการซื้อขายครั้งแรก ๑๒ ค� ำว่า “ทาส” ในความหมายของสังคมไทย แตกต่างกับ “ทาส” ในความหมายดั้งเดิมของ ประชาคมโลกซึ่งชวนให้นึกถึงภาพของชนผิวด� ำจากทวีปแอฟริกาที่ถูกนักล่าอาณานิคมจับมาขายทอดตลาด ในอเมริกาหรือโลกใหม่ ทาสเหล่านี้ต้องถูกบังคับให้ท� ำงานหนัก และถูกกระท� ำตามอ� ำเภอใจของเจ้าของ ๑๓ ผู้ที่เป็นทาสจะถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน กล่าวคือ ๑๐ ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ ๑ มาตรา ๓ ลักษณะทาส, เล่ม ๒, หน้า ๗๔ อ้างใน ม.ร.ว. อคิน รพีพัฒน์, สังคมไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ : พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๔๑๖ , แปลโดย ม.ร.ว. ประกายทอง สิริสุข และ พรรณี สรุงบุญมี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พิฆเณศ, ๒๕๒๑, น. ๒๑๒-๒๑๓. ๑๑ พระราชก� ำหนด พ.ศ. ๒๔๓๘, ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ ๑ , เล่มที่ ๓, หน้า ๔๔-๔๕ อ้างใน เรื่องเดียวกัน, น. ๒๑๒-๒๑๓. ๑๒ Sir John Bowling, Kingdom and People of Siam , Vol. I. London: n.p., 1857, pp. 191-192, อ้างใน เรื่องเดียวกัน, น. ๒๑๔. ๑๓ ศิริพร สโครบาแนค, การค้ามนุษย์ แนวคิด กลไก และประเด็นท้าทาย , น. ๒๒.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=