สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ปิยนาถ บุนนาค 11 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ที่ส่งผลต่อการจัดราชการในแต่ละกระทรวงก็คือระยะเวลาที่เสนาบดีแต่ละคนด� ำรงต� ำแหน่งเป็นเสนาบดีใน กระทรวงนั้น ๆ ทั้งนี้เพราะโดยทั่วไปเสนาบดีผู้ด� ำรงต� ำแหน่งอยู่นานพอสมควรก็ย่อมมีโอกาสจัดราชการ และด� ำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และนโยบายของกระทรวงได้มากกว่าเสนาบดีผู้ด� ำรงต� ำแหน่งอยู่ใน ระยะเวลาสั้น ๆ ดังนั้น กระทรวงที่ไม่ค่อยเปลี่ยนตัวเสนาบดีย่อมปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง และเป็นผล ดีมากกว่ากระทรวงที่มีการสับเปลี่ยนเสนาบดีบ่อยครั้ง ซึ่งมักท� ำให้การท� ำงานหยุดชะงัก เป็นอุปสรรค ส� ำคัญต่อการปฏิบัติงานของกระทรวง นอกจากนี้ระยะเวลาของการอยู่ในต� ำแหน่งเสนาบดียังเป็นตัวบ่งชี้ถึง ความสามารถหรือบารมีของเสนาบดีแต่ละคนด้วย กระทรวงการต่างประเทศเป็นกระทรวงแรกที่ได้มีการปรับเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและ รูปแบบของกระทรวงให้มีลักษณะเป็นองค์การตามแบบตะวันตกก่อนการประกาศสถาปนากระทรวงต่าง ๆ ใน พ.ศ. ๒๔๓๕ กล่าวคือ ระหว่างที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการทรงด� ำรง ต� ำแหน่งเสนาบดีว่าการกระทรวงการต่างประเทศช่วง พ.ศ. ๒๔๒๘-๒๔๕๓ นั้น พระองค์ทรงด� ำเนินการ ปรับปรุงแบ่งส่วนราชการและวิธีปฏิบัติราชการหลายประการนับตั้งแต่การแยกที่ท� ำการของกระทรวง กับบ้านหรือวังของเสนาบดีออกจากกัน โดยได้กราบบังคมทูลขอมีที่ท� ำการกระทรวงการต่างประเทศขึ้น เพื่อให้บรรดาข้าราชการไปท� ำงานร่วมกัน ณ ที่แห่งเดียวกัน ซึ่งก็ได้รับพระราชทานวังสราญรมย์ให้เป็น ที่ท� ำการโดยพระราชทานว่า “ศาลาว่าการต่างประเทศ” นับเป็นกระทรวงที่มีส� ำนักงานต่างหากจากวัง หรือบ้านของเสนาบดีดังที่เคยเป็นมา นอกจากนี้ มีการก� ำหนดเวลาท� ำงานและการอยู่เวรของข้าราชการ การวางระเบียบงานสารบรรณ และการแบ่งส่วนราชการออกเป็นส่วน ๆ มีการโอนงานอื่นที่ไม่เกี่ยวกับ การต่างประเทศให้กระทรวงซึ่งเป็นเจ้าสังกัดเกี่ยวกับลักษณะของงาน เช่น โอนการศาลให้แก่กระทรวง ยุติธรรม โอนการปกครองในเขตหัวเมืองให้แก่กระทรวงมหาดไทย หลังจากนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงและ ปรับปรุงส่วนราชการใหม่อีกหลายครั้งเพื่อให้เหมาะสมกับความจ� ำเป็นของงานและสถานการณ์ของโลก ที่เปลี่ยนแปลงไป ปรากฏว่าการปรับปรุงแบ่งส่วนราชการและวิธีปฏิบัติราชการของกระทรวงการต่างประเทศ ดังกล่าว ได้กลายเป็นแบบอย่างของกระทรวงอื่นในสมัยนั้นหลายอย่าง เห็นได้จากทุกกระทรวงต่างก็จัด ให้มีสถานที่ท� ำงานของกระทรวงของตนเป็นการเฉพาะ เช่น กระทรวงมหาดไทยที่ท� ำงานอยู่ ณ ศาลา ว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงพระคลังมหาสมบัติที่ตั้ง ณ หอรัษฎากรพิพัฒน์ในพระบรมมหาราชวัง กระทรวงกลาโหมในระยะแรก ณ ศาลาลูกขุนใน ต่อมาเมื่อมีการแยกงานราชการพลเรือนออกจากกลาโหม อย่างเด็ดขาดใน พ.ศ. ๒๔๓๗ จึงได้ย้ายที่ท� ำการมาอยู่ที่ศาลายุทธนาธิการ (คือ ที่ตั้งกระทรวงกลาโหม ปัจจุบัน) และกระทรวงเกษตราธิการมีที่ท� ำการอยู่ ณ ตึกโรงเรียนนายสิบที่วังพระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=