สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
การค้ามนุษย์ : กิ จกรรมต้องห้ามทางจริ ยธรรมในมุมมองของพุทธปรั ชญาและประชาคมโลก 172 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ผู้อื่น ในอดีต เหยื่อของการค้ามนุษย์อาจถูกบังคับหรือลักพาตัวจากถิ่นฐานเดิมของตน แต่ในปัจจุบันเหยื่อ อาจย้ายถิ่นด้วยความสมัครใจโดยถูกหลอกลวงให้หลงผิดเรื่องงานและรายได้ นักค้ามนุษย์อาจลักลอบพา เหยื่อเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ท� ำให้เหยื่อกลายเป็นแรงงานผิดกฎหมายและถูกลงโทษจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงท� ำให้เหยื่อมีสภาพเดือดร้อนล� ำบากซ�้ ำซ้อน อย่างไรก็ตาม หากการด� ำรงชีวิตในประเทศต้นก� ำเนิดเป็น ภัยคุกคามต่อชีวิต บุคคลก็สามารถย้ายถิ่นเพื่อขอลี้ภัยในประเทศอื่นได้โดยอาจลักลอบเข้าเมืองอย่างผิด กฎหมายและขอสถานภาพการเป็นผู้ลี้ภัยจากรัฐใหม่ หากได้รับสถานภาพเป็นผู้ลี้ภัย บุคคลนั้นก็จะมีสิทธิ ได้รับการคุ้มครองตามอนุสัญญาผู้ลี้ภัยขององค์การสหประชาชาติ ตามอนุสัญญานี้ “ผู้ลี้ภัย” หมายถึง บุคคล ผู้มีความหวาดกลัวซึ่งเชื่อได้ว่าอาจถูกข่มเหงรังแกเนื่องจากเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ และการเป็นสมาชิก ของกลุ่มสังคมหรือความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างจากประเทศต้นก� ำเนิดและไม่ต้องการกลับถิ่น พ� ำนักเดิม ๕ โดยทั่วไป “การย้ายถิ่น” หมายถึงการเคลื่อนย้ายออกจากถิ่นก� ำเนิดของตน อาจเคลื่อนย้าย ภายในประเทศหรือออกนอกประเทศก็ได้ วัตถุประสงค์หลักในการย้ายถิ่นคือ การท� ำงานใหม่ได้ค่า ตอบแทนที่ดีกว่าเดิม ในปัจจุบัน หลายประเทศได้ส่งเสริมการค้าเสรี ท� ำให้เงินทุนและสินค้าข้ามพรมแดน ได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น แต่รัฐกลับเข้มงวดในการย้ายถิ่นโดยการตั้งกฎระเบียบการเข้าเมืองของคนต่างชาติ เช่น ต้องแสดงหลักฐานทางการเงิน รายได้ และทรัพย์สิน ตลอดจนต้องมีผู้ค�้ ำประกันในประเทศที่จะเข้า อยู่อาศัย ท� ำให้ผู้ย้ายถิ่นต้องพึ่งอาศัยผู้จัดหางาน ผู้ลักลอบพาคนเข้าเมือง และนักค้ามนุษย์ เพื่อจัดหาหลักฐาน และข้อมูลต่างๆ ที่จ� ำเป็นในการข้ามพรมแดน การย้ายถิ่นด้วยความเต็มใจจึงกลายเป็นการลักลอบเข้าเมือง และการค้ามนุษย์ ๖ ในปัจจุบัน “การค้ามนุษย์” มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นทั้งในเรื่องเหตุปัจจัยและวิธีการ ทั้งโดย ความสมัครใจของเหยื่อและการถูกขู่เข็ญบังคับ เช่น การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีของบุคคลอื่น การหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบต่าง ๆ การบังคับใช้แรงงาน การบังคับคนเป็นทาสและการตัดอวัยวะ ของคนอื่นออกจากร่างกายเพื่อการค้า ๗ อาจกล่าวได้ว่า นิยามของ “การค้ามนุษย์” อย่างกว้างที่สุดคือ “การค้าทาสแบบใหม่” การค้า ทาสแบบเก่า (ยุคเก่า) แตกต่างกับการค้าทาสแบบใหม่ (ยุคใหม่) หรือการค้ามนุษย์ กล่าวคือ ๕ ศิริพร สโครบาแนค, การค้ามนุษย์ แนวคิด กลไก และประเด็นท้าทาย, กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จ� ำกัด, ม.ป.ป., น. ๓๖-๓๘. ๖ เรื่องเดียวกัน, น. ๒๙. ๗ พันต� ำรวจตรีหญิง จรีย์วรรณ พุทธานุรักษ์, ชายไทย รักษาชาติ และ ณรัตน์ สมสวัสดิ์, “การค้ามนุษย์” พินิจในแนวสตรีนิยมในพื้นที่ของ อินเตอร์เนต กระบวนการทางกฎหมาย และหน่วยงานภาครัฐ., (เชียงใหม่ : วนิตเพรส ๒๕๕๐), น. ๑๖๗.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=