สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

การค้ามนุษย์ : กิ จกรรมต้องห้ามทางจริ ยธรรมในมุมมองของพุทธปรั ชญาและประชาคมโลก 170 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ๑ เดลินิวส์ (๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘) : ๒. ๒ รุจิระ บุนนาค, “เบื้องลึก....โรฮีนจา”, เดลินิวส์ (๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘) : ๑๐. ความน� ำ เรื่องราวเกี่ยวกับ “การค้ามนุษย์” เป็นประเด็นส� ำคัญที่ประชาชนชาวไทยให้ความสนใจกัน ทั่วไปตั้งแต่กลาง พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่มีข่าวกรณีการอพยพเข้าประเทศต่าง ๆ ของชาวโรฮีนจาที่เกิดขึ้นในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ อันที่จริง “การค้ามนุษย์” ไม่ได้เกิดขึ้นจากกรณีของโรฮีนจาเป็นล� ำดับแรก แต่เกิดขึ้น มานานแล้วในสังคมไทย เพียงแต่ยังไม่เป็นประเด็นที่คนทั่วไปให้ความสนใจอย่างจริงจัง ชาวโรฮีนจาเป็น มุสลิมที่อาศัยอยู่ในดินแดนอาระกันหรือรัฐยะไข่ซึ่งอยู่ในประเทศเมียนมาทางทิศตะวันตก โดยเป็นกอง ก� ำลังของฝ่ายทหารอังกฤษในการสู้รบกับญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ต่อมาเมื่อสงครามยุติ ชาวพุทธใน เมียนมามีอ� ำนาจเหนือดินแดนอาระกันท� ำให้เกิดความขัดแย้งกับชาวมุสลิม ๑ โรฮีนจาเป็นชาติพันธุ์เดียวใน เมียนมา ที่ไม่ได้รับสัญชาติพม่า เนื่องจากรัฐบาลนายพลเนวินออกกฎหมายห้ามรับชาวโรฮีนจาเป็นพลเมือง เมียนมาใน พ.ศ. ๒๕๒๕ และชาวโรฮีนจาถูกจ� ำกัดสิทธิตามกฎหมายของรัฐ เช่น ห้ามมีบุตรเกิน ๒ คน ซึ่งขัด กับหลักศาสนาอิสลามที่ห้ามการคุมก� ำเนิด เมื่อมุสลิมโรฮีนจามีบุตรเกิน ๒ คนก็ไม่กล้าแจ้งต่อรัฐและกลาย เป็นคนไม่มีสัญชาติ ความยากล� ำบากในการด� ำรงชีวิตในเมียนมา ท� ำให้ชาวโรฮีนจาบางส่วนอพยพไปลี้ภัยอยู่ ในประเทศบังกลาเทศหลายหมื่นคนจนส� ำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอชซีอาร์ (United Nations High Commissioner for Refugees-UNHCR) ต้องตั้งศูนย์อพยพขึ้นในบังกลาเทศ เพื่อรองรับผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาและด� ำเนินการให้ชาวโรฮีนจาในเมียนมาได้เข้ารวมอยู่ในพื้นที่เฉพาะด้วยกัน เมื่อยูเอ็นเอชซีอาร์เข้าไปให้ความช่วยเหลือชาวโรฮีนจาที่อาศัยอยู่ในรัฐยะไข่โดยฝึกสอนให้ ประกอบอาชีพทางการเกษตร ประมง ก่อสร้างถนนและสะพาน ก็ท� ำให้เกิดการคมนาคมติดต่อค้าขาย กันได้ ต่อมา ชาวโรฮีนจาได้ปะทะกับชาวพุทธในรัฐยะไข่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๕ เนื่องจากสตรีชาวพุทธ ถูกชาวโรฮีนจาข่มขืนและฆ่า จึงเกิดการล้างแค้นต่อเนื่องระหว่างชาวพุทธในเมียนมากับชาวโรฮีนจา มีผู้เสียชีวิตเป็นจ� ำนวนมาก ทางรัฐบาลเมียนมาได้เข้ามาควบคุมสถานการณ์และขอให้ยูเอ็นเอชซีอาร์ ลดบทบาทในรัฐยะไข่ลงไป ชาวโรฮีนจาบางส่วนจึงอพยพทางเรือไปประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศมุสลิมเพื่อขายแรงงาน ต่อมา การอพยพได้ใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่าน จึงเกิดเป็นจุดเริ่มต้น ของขบวนการค้ามนุษย์ในประเทศไทย ๒ ส� ำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติได้ออกแถลงการณ์แสดงความยินดีต่อท่าที ของรัฐบาลมาเลเซียและอินโดนีเซียที่เสนอให้ที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาที่อพยพขึ้นฝั่งของประเทศ ดังกล่าว ในประเทศไทยก็มีการจับกุมผู้ที่ลักลอบน� ำชาวโรฮีนจาเข้าประเทศโดยการค้ามนุษย์ เช่น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=