สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ การค้ามนุษย์ : กิจกรรมต้องห้ามทางจริยธรรม ในมุมมองของพุทธปรัชญาและประชาคมโลก ภัทรพร สิริกาญจน ภาคีสมาชิก ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา บทคัดย่อ “การค้ามนุษย์” ตามความหมายในราชกิจจานุเบกษา จากมาตรา ๖ ของ “พระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑” คือ “การเป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จ� ำหน่าย พามา จากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยว กักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ซึ่งบุคคลใด โดยข่มขู่ใช้ก� ำลังบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง ใช้อ� ำนาจโดยมิชอบ หรือโดยให้เงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลบุคคลนั้น เพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลให้ความยินยอมแก่ผู้กระท� ำความผิดในการแสวงหา ประโยชน์จากบุคคลที่ตนดูแล” การค้ามนุษย์เป็นการค้าทาสแบบใหม่ซึ่งแตกต่างกับการค้าทาสแบบเก่า และการมีทาสของไทยในสมัยโบราณ จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะ การค้าทาสแบบใหม่ซับซ้อนหลากหลายมากกว่าการค้าทาสแบบเก่าและแตกต่างกับการมีทาสของไทย ยุคเก่าตรงที่ทาสไทยมีลักษณะเป็นบริวารของนาย มีความผูกพันกับนาย มีโอกาสไถ่ถอนตนจากความ เป็นทาส และโดยทั่วไปมักได้รับการเลี้ยงดู และความเมตตากรุณาจากนายตามสมควร การค้ามนุษย์ เป็นการลดทอนคุณค่าของความเป็นมนุษย์ จึงไม่ได้รับการสนับสนุนจากหลักจริยธรรมตามค� ำสอนทาง พระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธศาสนามีทรรศนะว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีคุณค่าและประเสริฐกว่า สัตว์โลกประเภทอื่น ๆ เนื่องจากมนุษย์มีสติปัญญา และสามารถปฏิบัติธรรมจนบรรลุความพ้นทุกข์หรือ นิพพานได้ ในพระไตรปิฎกจึงมีค� ำสอนเรื่อง อกรณียวณิชชา (ในคัมภีร์อรรถกถาเรียกว่า “มิจฉาวณิชชา” ซึ่งแสดงถึงการค้าขายที่ชาวพุทธไม่ควรท� ำ ๕ ประการ โดยมีอยู่ประการหนึ่งที่กล่าวห้ามเรื่องสัตตวณิชชา คือ การค้ามนุษย์ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะการค้าขายมนุษย์ท� ำให้มนุษย์หมดอิสรภาพซึ่งน� ำไปสู่การปิดกั้น ความสามารถในการพัฒนาตนเอง นอกจากนี้ การค้ามนุษย์ยังส่งเสริมให้ผู้กระท� ำและผู้เกี่ยวข้องละเมิด พุทธจริยธรรมในเรื่องอื่น ๆ เช่น ความเมตตากรุณา ความขยันหมั่นเพียร ความสันโดษ ความซื่อสัตย์ สุจริต ในท� ำนองเดียวกับการค้ามนุษย์ก็เป็นสิ่งที่ประชาคมโลกไม่สนับสนุน เพราะละเมิดสิทธิและ เสรีภาพของมนุษย์ในมุมมองแบบมนุษยนิยม (Humanism) การค้ามนุษย์จึงจ� ำเป็นต้องถูกยับยั้งด้วย การส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนของสังคมได้มีการศึกษาให้เข้าใจโลกและชีวิตอย่างรอบรู้ และให้มีพัฒนา ทางจริยธรรมจนสามารถลดทอนความเห็นแก่ตัว และพัฒนาความส� ำนึกต่อประโยชน์ของผู้อื่นและ ของส่วนรวมให้มากขึ้น ค� ำส� ำคัญ : การค้ามนุษย์, จริยธรรม, การค้าทาส, มนุษยนิยม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=