สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
สมเด็ จพระเจ้าตากสิ นมหาราชกั บจั กรพรรดิ เฉี ยนหลงในความสั มพั นธ์ไทย-จี น 164 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 การรับรอง ไม่พระราชทานตราตั้ง ซ�้ ำยังประณามการแย่งชิงราชสมบัติ และเรียกพระนามเดิมว่า กันเอินซื่อ ต่อมาก็เรียก พีหย่าซิน จนถึง พ.ศ. ๒๓๑๕ จึงเรียก เจิ้งเจา (เจ้าแซ่เจิ้ง) ซึ่งเท่ากับว่ายอมรับฐานะของ สมเด็จพระเจ้าตากสิน และไม่ประณามการตั้งตนเป็นกษัตริย์ โดยให้เหตุผลกับพระองค์ว่าการแย่งชิง ราชสมบัติเปลี่ยนราชวงศ์เป็นเรื่องธรรมดาในแถบนี้ โดยยกตัวอย่างกรณีเวียดนาม และตรัสว่าถ้ามี การร้องขอการถวายเครื่องราชบรรณาการเข้ามา ก็อนุญาต สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงรีรอการถวายเครื่องราชบรรณาการจน พ.ศ. ๒๓๒๔ ซึ่งอาจกล่าว ได้ว่าเป็นชั้นเชิงทางการทูตของสมเด็จพระเจ้าตากสิน จนจักรพรรดิเฉียนหลงต้องยอมอ่อนข้อให้ว่า อย่าได้ต� ำหนิให้รุนแรง แต่ก็มีการอบรมบ้าง พ.ศ. ๒๓๒๔ ถือได้ว่าจักรพรรดิเฉียนหลงรับรองฐานะ พระราชทานตราตั้งให้ มีข้อที่น่าสังเกต อย่างส� ำคัญในพระราชสาส์นของสมเด็จพระเจ้าตากสิน คือ มีการบอกกล่าวหรือทวงบุญคุณกับจีนที่ พระองค์ให้ความช่วยเหลือจีน พร้อมกับขอน� ำสินค้าไปขายในเมืองท่าอื่นนอกเหนือจากที่ก� ำหนดไว้ และ ขอต้นหนน� ำเรือไปค้าขายที่ญี่ปุ่นด้วย แต่จักรพรรดิเฉียนหลงไม่อนุญาต เรื่องนี้เป็นการเปลี่ยนความเชื่อ ดั้งเดิมที่ว่า จีนไม่รับพระราชสาส์น แต่คณะราชทูตชุดนี้เดินทางจากกรุงปักกิ่งมายังเมืองกว่างโจว ใช้เวลานานผิดปรกติ โดย ไม่ทราบสาเหตุ ท� ำให้เดินทางกลับกรุงธนบุรีไม่ได้ เพราะลมเปลี่ยนฤดูแล้ว แต่ทูตชุดที่ ๒ ที่มีหลวงนายฤทธิ์ เป็นอุปทูต เดินทางกลับถึงปากน�้ ำเมืองสมุทรปราการหลังการขึ้นครองราชสมบัติของพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ราว ๓ เดือน เป็นไปได้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงส่งทูตไปติดตาม และได้เข้าถวายเครื่องราชบรรณาการด้วย เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขึ้นครองราชย์ต่อทรงแจ้งไปยังจีนว่า พระองค์เป็นโอรสของสมเด็จพระเจ้าตากสิน กล่าวได้ว่าจาก ประสบการณ์ที่ได้รับรู้มาตลอดถึงปัญหาการเปลี่ยนราชวงศ์ท� ำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชแจ้งจีนเช่นนั้น เพื่อให้จักรพรรดิเฉียนหลงยอมรับและพระราชทานตราตั้งโดยไม่มีปัญหา และ ทรงใช้แซ่เจิ้ง หรือ แต้ ตามแซ่สมเด็จพระเจ้าตากสิน โดยมีการใช้ต่อมา จนกระทั่งพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยุติการจิ้มก้องต่อจีนใน พ.ศ. ๒๓๙๖ ๖๕ ๖๕ ประพฤทธิ์ ศุกลรัตนเมธี, “เอกสารประวัติศาสตร์จีนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย-จีน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ,” ประวัติศาสตร์ปริทรรศน์, วินัย พงศ์ศรีเพียร บรรณาธิการ, หน้า ๑๒๕.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=