สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
163 วุฒิ ชั ย มูลศิ ลป์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ มาถวายของพื้นเมืองเป็นเครื่องบรรณาการ” ๖๓ จักรพรรดิเฉียนหลงได้พระราชทานเลี้ยงด้วย ถ้าข้อมูลนี้ ถูกต้องความเห็นเดิมที่ว่าราชทูตชุดแรกกลับมาเมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงที่กรุงธนบุรี น่าจะเป็นราชทูต ชุดที่ ๒ นี้เอง คณะราชทูตชุดแรกรอจนเดือน ๑๒ เมื่อลมเปลี่ยนฤดู โดยไทยส่งหลวงภักดีวานิชน� ำเรือ ส� ำเภาออกไปรับ พร้อมกับทูต คือ หลวงอภัยชลทีกับขุนภักดีกัลญาเป็นอุปทูต ถือหนังสือออกไปแจ้งข่าว การขึ้นครองราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และทางจักรพรรดิเฉียนหลง ตรัสว่าสมเด็จพระเจ้าตากสิน “ไม่รักไพร่ฟ้าประชากร เบียดเบียนไพร่ฟ้าประชากรถึงที่จะตาย” ๖๔ และจงตกหมูอี้ได้จัดแจงให้ส� ำเภาไทยออกจากเมืองกว่างโจวในวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๓๒๕ ซึ่งเป็นปลายปี พร้อมพระราชสาส์นของจีน ความสัมพันธ์กับจีนสมัยธนบุรีจึงสิ้นสุดลง แต่ก็ได้เปิดทาง ให้สมัยต่อมาเป็นอย่างดี สรุปและส่งท้าย ความสัมพันธ์ไทย-จีน สมัยธนบุรี มีลักษณะพิเศษและซับซ้อนมากกว่าสมัยใด ๆ เพราะเป็น ช่วงเวลาไม่ปรกติของการเมืองไทย ซึ่งส่งผลต่อความสัมพันธ์กับจีน ประกอบกับภูมิหลังเรื่องชาติก� ำเนิด การอบรมสั่งสอน โลกทัศน์ ที่หล่อหลอมให้เป็นบุคลิกภาพเฉพาะตัวของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ซึ่งเป็น ลูกครึ่งจีน-ไทย และได้รับการเล่าเรียน อบรมสั่งสอนแบบไทยเพื่อเป็นขุนนางที่ดี ให้รักบ้านเมือง ศรัทธา ในพระพุทธศาสนา แต่จักรพรรดิเฉียนหลงเป็นโอรสของจักรพรรดิ ได้รับการศึกษาอย่างดีตามแบบแมนจู และจีน และเป็นหลานรักของปู่ที่เป็นจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ คือ คังซี ซึ่งให้การอบรมสั่งสอนเพื่อให้เป็น จักรพรรดิที่ดีอีกด้วยแม้จะเป็นองค์ชายสี่ เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่ข้าศึกใน พ.ศ. ๒๓๑๐ ความมุ่งมั่นของสมเด็จพระเจ้าตากสิน คือ การกอบกู้ฟื้นฟูบ้านเมืองให้เหมือนสมัยรุ่งเรือง ท� ำนุบ� ำรุงพระพุทธศาสนา แก้ไขปัญหาความอดอยากให้ ไพร่ฟ้ามีชีวิตที่ดีขึ้น ทุกเรื่องท� ำด้วยความเด็ดเดี่ยวฉับไว ซึ่งก็ท� ำได้ในเวลาเพียง ๓ ปี ขณะเดียวกันทรงรีบ ฟื้นฟูความสัมพันธ์กับจีน ขอ “ตราตั้ง” จากจักรพรรดิเฉียนหลง เพื่อความมั่นคงและขยายโอกาสทางการค้า แต่จักรพรรดิเฉียนหลงซึ่งเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ นิยมการขยายอ� ำนาจ และยึดมั่นในลัทธิขงจื๊อ ในระบบคุณธรรม-กตัญญู ไม่แย่งชิงราชสมบัติ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินส่งพระราชสาส์นไปจึงไม่ให้ ๖๓ ส� ำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, ชิงสือลู่ (เกาจงสือลู่ บรรพ ๑๑๔๙) วันที่ ๙ มีนาคม ค.ศ. ๑๗๘๒ นับตามแบบเก่าของไทย เป็น พ.ศ. ๒๓๒๔ ๖๔ ส� ำนักหอสมุดแห่งชาติ, “จดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ จ.ศ. ๑๑๔๔ (พ.ศ. ๒๓๒๕) เลขที่ ๓ สมุดไทยด� ำ (ตัวเขียน); สัมพันธภาพ ระหว่างไทย-จีน , หน้า ๙. เวลานี้จวนแจมากกับการสิ้นรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสิน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=