สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
พระมหากรุณาธิ คุณด้านการบริ หารราชการแผ่นดิ นใน “ระบบราชการ” ของพระมหากษั ตริ ย์ แห่งพระบรมราชจั กรี วงศ์ 10 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงด� ำเนินการปฏิรูปประเทศในลักษณะ การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่แบบ “พลิกแผ่นดิน” ของสยาม ซึ่งส่งผลเป็นคุณประโยชน์อย่างใหญ่หลวง ต่ออาณาประชาราษฎร์ และก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองเป็นอเนกอนันต์แก่บ้านเมืองท่ามกลางกระแส การคุกคามของจักรวรรดินิยมตะวันตกในขณะนั้น พระราชกรณียกิจต่าง ๆ นั้นล้วนเป็นการวางรากฐาน และเป็นต้นแบบของความเจริญทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศไทย สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน พระองค์ได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า สมเด็จพระปิยมหาราช อันหมายถึง พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นที่รักของปวงชนชาวไทย ในด้ านการวางรากฐานระบบบริหารราชการแผ่นดินของสยามนั้น พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง “ทดลอง” จัดตั้งหน่วยงานใหม่ ๆ ให้ท� ำงานเฉพาะหน้าที่ เป็นการเริ่ม “กรุยทาง” ที่จะจัดระเบียบกระทรวง กรม กอง ใหม่ เพื่อให้เหมาะสมในการรองรับการเปลี่ยนแปลง ของบ้านเมืองซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวให้ทันสมัย เช่น การแยกเอางานด้านทหารบก ทหารเรือจากกรม กองต่าง ๆ มารวมอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานเดียวคือ กรมยุทธนาธิการ ที่ท� ำหน้าที่โดยเฉพาะ หรือ การรวมงานโยธาที่กระจายอยู่ในกรมกองต่าง ๆ มาไว้ในหน่วยงานเดียว ซึ่งจัดตั้งเป็นกระทรวงโยธาธิการ เมื่อมีการเตรียมงานมาพอสมควรแล้ว ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการจัดตั้งงานของกระทรวงตามระเบียบใหม่ โดยระยะแรกมี ๑๒ กระทรวง แต่ละกระทรวงมีหน้าที่เฉพาะอย่างของตน และเสนาบดีมีอ� ำนาจในการก� ำหนดนโยบายและบริหารงานตาม นโยบายและขอบเขตความรับผิดชอบโดยมีสถานภาพเท่าเทียมกัน การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินนี้ ถือเป็นก้าวส� ำคัญของงานปฏิรูประบบราชการในระบบกระทรวงตามแบบตะวันตก นอกจากนี้แต่ละกระทรวงก็ได้จัดการปฏิบัติงานในสายงานของตน เช่น งานประมวลกฎหมาย และจัดระเบียบศาลของกระทรวงยุติธรรม การจัดการปกครองของกระทรวงมหาดไทย งานสร้างกองทัพ ของกระทรวงกลาโหม การปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงธรรมการ ในการปรับปรุงงานแต่ละประเภทนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศ ตลอดจนจัดให้มีการ สอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงส� ำหรับผู้มีความสามารถได้ออกไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ เพื่อกลับมาช่วย “สานต่อ” งานปฏิรูปบ้านเมือง นอกจากนี้ยังได้มีการปฏิรูปการปกครองในส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการปฏิรูปทางด้านเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อม ๆ กันด้วย เกี่ยวกับโครงสร้างของระบบกระทรวง เสนาบดีเป็นผู้มีบทบาทส� ำคัญในการจัดราชการกระทรวง ของตนโดยมีกฎระเบียบข้อบังคับรองรับ ซึ่งจะกลายเป็นโครงสร้างและรูปแบบที่เป็นตัวก� ำหนดขอบเขต หน้าที่ของข้าราชการในกระทรวงให้ได้รับทราบและปฏิบัติตาม ด้วยเหตุนี้ตัวแปรส� ำคัญประการหนึ่ง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=